ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 

 เดือนเมษายน 49  

 

 

ฟองอวกาศรูปนาฬิกาทราย

Giant Bubble Bullies Our Space

April 13th, 2006

ที่มา www.space.com :

เมื่อดาวฤกษ์ระเบิดตัวเองกลายเป็นซูเปอร์โนวา แรงระเบิดจะกวาดมวลสารออกไปจนเกิดปริภูมิที่คล้ายฟองอากาศขนาดยักษ์ในอวกาศ ระบบสุริยะของเราเองก็พัฒนาขึ้นมาจากโครงสร้างคล้ายฟองอากาศดังกล่าวจากการระเบิดเมื่อนานมาแล้ว ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังพิสูจน์ว่าฟองอากาศของเรากำลังถูกบีบอัด โดยการขยายตัวของฟองอากาศอื่นๆ ซึ่งมาจากซูเปอร์โนวาหลายแห่งรอบๆ ระบบสุริยะ สำหรับฟองอากาศของเรา นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า “Local Bubble” รูปร่างของมันคล้ายกับนาฬิกาทราย อันเป็นผลมาจากการบีบอัดโดยฟอง Loop 1 Superbubble ซึ่งเกิดจากการระเบิดหลายต่อหลายครั้งเมื่อไม่กี่ล้านปีก่อน

สัญญาณรังสีเอกซ์จากขอบ Local Bubble เมื่อสีน้ำเงินคือจุดที่อยู่ใกล้โลก และสีแดงคือด้านไกล เมื่อบนล่างอยู่ไกล

ส่วนตรงกลางอยู่ใกล้เรา นั่นหมายความว่าส่วนกลางถูกบีบอัดเข้ามา

Credit: Dr Richard Willingale

 

ขอบเขตของ Superbubble กำหนดได้ด้วยความร้อน เมื่อก๊าซที่กำลังขยายตัว ณ บริเวณขอบฟอง แผ่รังสีเอกซ์พลังงานต่ำออกมา ให้นักวิทยาศาสตร์จับสัญญาณได้

Superbubble กำลังขยายตัวด้วยความเร็่วมากกว่าของ Local Bubble ของเรา ดังนั้นมันจึงบีบอัดบริเวณอันเป็นที่อยู่ของกลุ่มก๊าซหนาแน่น

อุณหภูมิต่ำ หรือที่เรียกว่า “ กำแพง ” (the wall) อันคั่นอยู่ระหว่างขอบเขตของทั้งสองอากาศ ข้อเท็จจริงก็คือ ผลงานวิจัย

สรุปว่าอันตรกิริยานี้จะทำให้ฟองอากาศของเราคอดกิ่งเข้ามาจนดูคล้ายหลอดแก้วนาฬิกาทราย

 

ข้อมูลทั้งหมดมาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ XMM-Newton ขององค์การอวกาศยุโรป ( European Space Agency) แต่กว่าจะได้มาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก “ สัญญาณการแผ่รังสีเอกซ์ จากฟองอากาศนั้นริบหรี่มาก เพื่อการนั้น เราต้องลบข้อมูลแสงจากดาวฤกษ์ เนบิวลา และรังสีคอสมิคออกจากภาพถ่ายเสียก่อน เหลือไว้แต่เพียงสัญญาณอ่อนๆ ของรังสีเอกซ์เท่านั้น ” Michelle Supper นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเลสเตอร์ ( University of Leicester ) กล่าว “ วิธีการนี้ก็เหมือนกับมองเข้าไปในตู้ปลาแต่ไม่สนใจปลาให้สนใจแต่น้ำเท่านั้น ”

 

ช่องว่างท้องถิ่น หรือ Local Bubble เมื่อมองจากด ้ านข้าง ดูเหมือนปล่องไฟที่ทะลุผ่านระนาบดาราจักรทางช้างเผือก

Credit: http://www.space.com/scienceastronomy/aas 202 _bubble_ 030529. html

 

ความหนาแน่นของก๊าซที่ถูกบีบจนคอดคล้ายนาฬิกาทรายคิดเป็นสี่เท่าของบริเวณอื่นๆ บนขอบฟอง จากจุดที่เราอยู่ ขอบของ Local Bubble ห่างจากเราไป 91 ปีแสงสำหรับด้านใกล้ ส่วนด้านตรงข้ามห่างออกไป 358 ปีแสง ส่วน Superbubble มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 895 ปีแสง ( 1 ปีแสง คิดเป็นระยะทาง 10 ล้านล้านล้านกิโลเมตร)

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

 

ฮับเบิลวัดขนาดดาวเคราะห์ดวงที่สิบ

Hubble Finds ‘Tenth Planet' Slightly Larger Than Pluto

April 10 th ,2006

ที่มา www.nasa.gov

ครั้งแรกสุดที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบ “ ดาวเคราะห์ดวงที่สิบ ” หรือชื่อเล่นว่า “ ซีนา ”(Xena) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตเล็กน้อย แม้ว่างานสังเกตภาคพื้นดินชี้ว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของซีนา ใหญ่กว่าของพลูโตร้อยละ 30 ส่วนกล้องฮับเบิลช่วยวัดขนาดเมื่อวันที่ 9 – 10 ธันวาคม 2548 ไ ด้ 2398 กิโลเมตร ( ด้วยความคลาดเคลื่อน 96.5 กิโลเมตร) ในขณะที่เส้นผ่านศูนย์กลางของพลูโตคิดเป็น 2288 กิโลเมตร นั่นคือมันใหญ่กว่าพลูโตไม่ถึงร้อยละ 10

Artist's concept of the Kuiper Belt Object nicknamed Xena, with moon Gabrielle

ภาพจำลองวัตถุในแถบ Kuiper Belt หรือดาวเคราะห์ดวงที่สิบ Xena และดวงจันทร์บริวาร Gabrielle

Credit: NASA, ESA, and A. Schaller (for STScI)

“ ฮับเบิล เป็นกล้องโทรทัศน์เดียวที่สามารถมองเห็น ซีนา ในช่วงแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้ ” Mike Brown นักดาวเคราะห์วิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีคาลิฟอร์เนีย( CalTech ) พาซาเดนา คาลิฟอร์เนีย กล่าว ทีมวิจัยของ Brown ค้นพบ Xena ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า 2003 UB313 ภาพถ่ายขนาดพกพาเท่านั้นก็เพียงพอที่จะวัดขนาดของมัน เมื่อ Xena อยู่ห่างจากโลก 16,000 ล้านกิโลเมตร ทำให้ขนาดปรากฏบนภาพถ่ายจากกล้องฮับเบิลเล็กเพียง 1.5 พิกเซล

 

Xena as photographed by Hubble

จากระยะ 16,000 ล้านกิโลเมตร ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวเคราะห์ดวงที่เก้า ( พลูโต ) เล็กน้อย

Xena ปรากฎขนาดเพียง 1.5 พิกเซล บนภาพจากกล้องฮับเบิล

Credit: NASA, ESA, and M. Brown (CalTech)

 

เนื่องจาก Xena เล็กกว่าที่คาดกันไว้ แต่ด้วยความสว่างอันโดดเด่นของมัน กลับเป็นหลักฐานสำคัญที่บอกว่าเทหวัตถุก้อนนี้มีความสามารถในการสะท้อนแสงได้ดีมาก สำหรับสมาชิกระบบสุริยะ วัตถุอีกชิ้นที่สะท้อนแสงได้ดีคือดวงจันทร์ Enceladus บริวารที่เต็มไปด้วยกิจกรรมทางธรณีวิทยาของดาวเสาร์ และเป็นเจ้าของพื้นผิวที่ห่มคลุมด้วยน้ำแข็งที่ถูกพ่นออกมาจากน้ำพุใต้ผิวดาว

สมบัติการสะท้อนแสงของ Xena จะเป็นไปได้หากผิวของมันเคลือบด้วยมีเทนแข็ง เทหวัตถุชิ้นนี้อาจมีชั้นบรรยากาศเมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แล้วเมื่อมันออกห่างมาก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศก็จับตัวแข็งกลายเป็นผิวดาวอันวาวแวว นอกเหนือจากนี้อาจเป็นเพราะ Xena มีก๊าซมีเทนที่รั่วไหลออกมาจากภายในตัวดาวที่อุ่นระอุ เมื่อก๊าซมีเทนนั้นพบกับอุณหภูมิเย็นยะเยือกมันจะถูกแช่แข็งกลายเป็นน้ำแข็งปกคลุมปากปล่องหลุมอุกกาบาต และภูมิประเทศอื่นๆ

 

Size of Kuiper Belt Objects

เปรียบเทียบขนาดของวัตถุในแถบ Kuiper Belt ซึ่งใหญ่กว่า Pluto เล็กน้อย Pluto.

Credit: NASA, ESA, and A. Feild (STScI)

Xena ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 560 ปี และขณะนี้มันอยู่ใกล้จุด aphelion อันเป็นจุดที่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดของแนวโคจร Brown วางแผนที่จะใช้กล้องฮับเบิบและกล้องโทรทรรศน์อื่นๆ เพื่อศึกษาวัตถุในแถบ Kuiper Belt อื่นๆ ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่กว่า Pluto และ Xena เสียอีก

การค้นพบวัตถุในแถบ Kuiper Belt ที่มีขนาดใหญ่กว่าพลูโตทำให้เกิดข้อถกเถียงอันซับซ้อน หากถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ดังนั้นก็ต้องนับ Xena ให้เป็นดาวเคราะห์ด้วย

ขณะนี้สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union) กำลังตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้ Xena อยู่

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

 

 เผยโฉม หน้ามนุษย์บนดาวอังคาร

Happy Face on Mars Exposed

April 5th ,2006

ที่มา www.space.com

ด้วยเนินเขาไม่กี่แห่ง แสงเงาบางมุม และจินตนาการของมนุษย์ ทำให้เราสามารถเห็นหลายสิ่งที่มีอยู่แล้วบนโลก ปรากฏบนเทหวัตถุฟากฟ้า ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่อย่างที่ตาเห็น

“ ใบหน้ายิ้ม ” จากมุมสูง ตาซ้ายคือหลุมอุกกาบาต ตาขวาคือเนินเขา ส่วนปากคือแนวเทือกเขาทั้งหมดล้วนอยู่ภายในหลุมอุกกาบาต Galle

Credit: ESA/DLR/FU Berlin (G. Neukum)

ยกตัวอย่างเช่นความเข้าใจผิดที่มนุษย์มีต่อดาวอังคาร

เราพบว่าภูมิประเทศบางแห่งบนดาวอังคารมีรูปร่างคล้ายหัวใจ มีหนอนโปร่งแสง และที่รู้จักกันดีคือ “ ใบหน้ามนุษย์ ” ซึ่งทำให้ใครหลายคนเชื่อว่านั้นเป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมทรงภูมิปัญญาที่เคยมีอยู่บนดาวอังคาร

ข้อโต้เถียงที่น้อยกว่านี้คือ ใบหน้ายิ้ม หรือ Happy Face ซึ่งถ่ายได้จากยาน Viking และไม่มีใครคิดว่ามันถูกสร้างขึ้น แต่ภาพถ่ายชุดใหม่นี้จะช่วยลบล้างแนวคิดเพี้ยนๆ ที่มีกับภาพอื่นๆ จากนอกโลก

มุมมองแบบทิวทัศน์ของหลุมอุกกาบาต Galle จากทิศเหนือ จะเห็นว่าหน้ายิ้มดูเหมือนหลุมอุกกาบาตที่ไม่ราบเรียบ

ภาพนี้ได้จากยาน ESA's Mars Express. Credits: ESA/DLR/FU Berlin (G. Neukum)

 

จากภาพถ่ายมุมสูง ใบหน้ายิ้ม ดูคล้ายๆ ภาพใบหน้ากลมๆ ฉีกยิ้ม ซึ่งพบได้ทั่วไป แต่เมื่อมองจากภาพมุมเฉียงจากยาน Mars Express orbiter ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) ทำให้ใบหน้ายิ้มหายไป เหลือไว้เพียงเส้นสายของเทือกเขา

แผนที่แสดงหลุมอุกกาบาต Galle ณ ขอบนอกแอ่ง Argyre Planitia

Credits: ESA/FU Berlin/MOLANEW

เทือกเขาที่แสดงปรากฏภาพมุมสูงเป็นรูปหน้ายิ้ม วางตัวอยู่ภายในหลุมอุกกาบาต Galle อันเกิดจากการปะทะระหว่างหินอวกาศกับดาวเคราะห์แดง ขอบหลุมจึงดูเหมือนขอบของใบหน้า หลุมอุกกาบาตดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 230 กิโลเมตร วางตัวอยู่ตรงขอบด้านตะวันออกของแอ่ง Argyre Planitia

การมองเห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ไม่ว่าบนผิวดาวอังคารหรือบนเมฆ เรียกว่า Pareidolia งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามนุษย์รู้สึกไวต่อการเห็นใบหน้ามนุษย์ในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากข้อมูลใบหน้ามนุษย์นั้นฝังลึกอยู่ภายในสมองของเราเสียแล้ว

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@