ฤดูกาล

(Seasons)

 

          

Image credit: http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/solar/picsol/seasoncomp.jpg

 

ฤดูกาล (Seasons)

ฤดูกาลเป็นการแบ่งปีเป็นช่วงๆ ตามสภาพอากาศ ฤดูกาลต่างๆ เป็นผลมาจากการที่แกนโลกเอียงไปจากระนาบการโคจรเล็กน้อย (ประมาณ 23.44 องศา) ในขณะที่โลกโคจรไปรอบๆ ดวงอาทิตย์นั้น โลกจะหันบางส่วนเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา และบางส่วนจะโดนแสงอาทิตย์น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนที่โดนแสงอาทิตย์มาก ก็เป็นฤดูร้อนของส่วนนั้นๆ และส่วนที่โดนแสงอาทิตย์น้อยก็จะเป็นฤดูหนาว

 

 

           รูปแสดงการเกิดฤดูกาลเมื่อโลกโคจรไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ จะเห็นว่าซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้จะเป็นฤดูตรงข้ามกัน

Credit image: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/d/d7/Seasons2.png

 

ตำแหน่งต่างๆ บนโลกจะมีฤดูกาลไม่เหมือนกัน โดยในส่วนของโลกที่อยู่ระหว่างเขตหนาวกับเขตอบอุ่น (temperate regions) และบริเวณแถบขั้วโลก (polar regions) จะมี 4 ฤดูกาลคือ ฤดูใบไม้ผลิ (spring) ฤดูร้อน (summer) ฤดูใบไม้ร่วง (fall) และฤดูหนาว (winter) ส่วนบริเวณโซนเขตร้อน (tropical region) หรือบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ เส้นศูนย์สูตรจะแบ่งได้ 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน (dry hot season) ฤดูฝน (wet season) และฤดูหนาว (dry cool season) ซึ่งประเทศไทยก็อยู่โซนเขตร้อน ดังนั้นประเทศไทยจึงมี 3 ฤดูกาล

 

 

รูปแสดงตำแน่งของโลกเมื่อมองจากทิศเหนือ โดยตำแน่งที่ขวาไกล ๆ นั้นคือ

ตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนธันวาคม ที่เรียกว่า December solstice  

Image credit: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/8b/North_season.jpg

 

รูปแสดงตำแน่งของโลกเมื่อมองจากทิศใต้ โดยตำแน่งที่ซ้ายไกล ๆ นั้นคือ

ตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนมิถุนายน ที่เรียกว่า June solstice  

Image credit: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6a/South_season.jpg

 

ใน 1 ปี โลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด 2 ครั้ง คือ ในเดือนธันวาคม และในเดือนมิถุนายน ซึ่งในเดือนธันวาคมนั้น จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม เราเรียกว่า December solstice ส่วนในเดือนมิถุนายนนั้นจะตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน เราเรียกว่า June solstice

ส่วนของโลกที่อยู่ระหว่างเขตหนาวกับเขตอบอุ่น (temperate regions) และบริเวณแถบขั้วโลก (polar regions) เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนไป ความเข้มของแสงของดวงอาทิตย์ก็ต่างกันไปด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับละติจูด และขึ้นอยู่กับน้ำมีอยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้นๆ ด้วย เช่นบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างทวีปแอนตาร์กติกและอยู่ไกลจากอิทธิพลของมหาสมุทรทางใต้ (the southern oceans) พอสมควร ในขณะที่บริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ทำให้ภูมิอากาศแถบขั้วโลกเหนือได้รับการปรับตามมหาสมุทรอาร์กติกนั้น ทำให้ภูมิอากาศไม่หนาวหรือร้อนมากเกินไป ในขณะที่แถบขั้วโลกใต้จะหนาวมากในฤดูหนาว ซึ่งหนาวกว่าฤดูหนาวแถบขั้วโลกเหนือ

ส่วนของโลกบริเวณโซนเขตร้อน จะไม่มีความแตกต่างของความเข้มของแสงที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มากนักในฤดูกาลต่างๆ

 

รูปแสดงโลกระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ

Image credit: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a3/Seasonearth.png) 

 

 

อ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Season