ดาวพฤหัส
(Jupiter)
ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา โดยมีองค์ประกอบหลักคล้ายกับดาวฤกษ์ คือ ไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก ถ้าหากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่านี้ประมาณแปดเท่า ดาวพฤหัสจะสามารถกำเนิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันและกลายเป็นดาวฤกษ์ได้ สืบเนื่องจากขนาดที่ใหญ่และมวลที่มาก ดาวพฤหัสจึงเป็นดาวที่มีดาวบริวารมากที่สุด คือ 49 ดวง โดยที่ดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวงถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ ดวงจันทร์สี่ดวงนี้มีชื่อว่า ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), กานีมีด (Ganymede) และคาลิสโต (Callisto) โดยดาวทั้งสี่ดวงนี้มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับดาวเคราะห์ทีเดียว อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกด้วย เช่น กานีมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดและเป็นดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสนามแม่เหล็กเป็นของตัวเอง ส่วนยูโรปานั้นก็เป็นดาวที่มีน้ำที่อยู่ในสถานะของเหลวซึ่งเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต เป็นต้น เราสามารถเห็นดาวพฤหัสมีลวดลายเป็นเส้น ๆ ที่เกิดจากชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสและจุดแดงใหญ่ซึ่งเป็นพายุขนาดใหญ่บนดาวพฤหัสซึ่งเราตรวจพบมากว่า 300 ปีแล้ว
รูปดาวพฤหัส
ถ่ายโดย Hubble Space Telescope
ตารางแสดงข้อมูลที่สำคัญของดาวพฤหัส
ค้นพบโดย นักดาราศาสตร์โบราณ |
|
ระยะทางโดยเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ |
778,412,020 km |
ระยะทางใกล้ที่สุดจากดวงอาทิตย์ |
740,742,600 km |
ระยะทางไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์ |
816,081,400 km |
รัศมีบริเวณเส้นศูนย์สูตร |
71,492 km |
เส้นรอบวงบริเวณเส้นศูนย์สูตร |
449,197 km |
ปริมาตร |
1,425,500,000,000,000 km3 |
มวล |
1,898,700,000,000,000,000,000,000,000 kg |
ความหนาแน่นเฉลี่ย |
1.33 g/cm3 |
ค่าความรีของวงโคจร | 0.04839 |
อุณหภูมิยังผล | -148 °C |
อ้างอิง
- เว็บไซด์ http://solarsystem.nasa.gov/planets/index.cfm
- เว็บไซด์ http://www.iau.org/iau0602.423.0.html
- Presentation ประกอบการสอนโรงเรียนจิตรลดาของ ศ.ดร. เดวิด รูฟโฟโล
- Jeffrey Bennett, Megan Donahue, Nicholas Schneider and Mark Voit, The essential COSMIC PERSPECTIVE, 3rd edition, Addison Wesley, USA, 2005