ดาวอังคาร
(Mar)
ดาวอังคารเป็นดาวที่เป็นจุดสนใจของนักวิทยาศาสตร์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิต หรือการตั้งอาณานิคมของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจาก ดาวอังคารมีสภาวะแวดล้อมคล้าย โลกมากทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญมาก คือ น้ำ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่บนดาวอังคารมาแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากร่องรอยที่คล้ายร่องน้ำขนาดใหญ่บนผิวของดาวอังคาร ปัจจุบันเราไม่สามารถตรวจพบน้ำบนดาวอังคารได้เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำ (ประมาณ -53 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ย) เกินกว่าจะพบน้ำที่เป็นของเหลวได้ นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีชั้นบรรยากาศที่เบาบางกว่าโลกมาก และไม่มีออกซิเจน ซึ่งทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตทะลุลงมาถึงพื้นผิวได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม อาจมีสิ่งมีชีวิตเคยอาศัยอยู่บนดาวอังคารเนื่องจากสภาวะของดาวอังคารมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากการศึกษาพบว่าในอดีตดาวอังคารมีชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็ก และเคยเกิดน้ำท่วม ซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำรงชีวิต
รูปดาวอังคาร
ภาพจาก Hubble Space Telescope
ตารางแสดงข้อมูลที่สำคัญของดาวอังคาร
ค้นพบโดย นักดาราศาสตร์โบราณ | |
ระยะทางโดยเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ | 227,936,640 km |
ระยะทางใกล้ที่สุดจากดวงอาทิตย์ |
206,600,000 km |
ระยะทางไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์ | 249,200,000 km |
รัศมีบริเวณเส้นศูนย์สูตร |
3,397 km |
เส้นรอบวงบริเวณเส้นศูนย์สูตร |
21,344 km |
ปริมาตร | 163,140,000,000 km3 |
มวล |
641,850,000,000,000,000,000,000 kg |
ความหนาแน่นเฉลี่ย |
3.94 g/cm3 |
ค่าความรีของวงโคจร |
0.0934 |
อุณหภูมิผิว ต่ำสุด/สูงสุด |
-87 to -5 °C |
อ้างอิง
- เว็บไซด์ http://solarsystem.nasa.gov/planets/index.cfm
- เว็บไซด์ http://www.iau.org/iau0602.423.0.html
- Presentation ประกอบการสอนโรงเรียนจิตรลดาของ ศ.ดร. เดวิด รูฟโฟโล
- Jeffrey Bennett, Megan Donahue, Nicholas Schneider and Mark Voit, The essential COSMIC PERSPECTIVE, 3rd edition, Addison Wesley, USA, 2005