ดาวพุธ
(Mercury)
เป็นดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยวงโคจรของดาวพุธมีลักษณะรีมาก ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ที่น้อยที่สุดห่างเพียง 47 ล้านกิโลเมตร ส่วนระยะห่างมากที่สุด คือ 70 ล้านกิโลเมตร ดาวพุธเป็นดาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด และเนื่องจากมีขนาดและมวลน้อย ดาวพุธจึงเป็นดาวที่ไม่มีชั้นบรรยากาศปกคลุม ทำให้มีหลุมจากอุกกาบาตที่ตกลงสู่พื้นผิวของดาวจำนวนมาก และด้วยความที่ไม่มีชั้นบรรยากาศนี้ ยังส่งผลให้อุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนของดาวพุธแตกต่างกันมาก โดยในเวลากลางวันมีอุณหภูมิสูงถึง 430 องศาเซลเซียส เพราะว่าได้รับแสงอาทิตย์จากดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนตอนกลางคืนอุณหภูมิลดลงเป็น 170 องศาเซลเซียส เนื่องจากไม่มีชั้นบรรยากาศในการกักเก็บความร้อนที่ได้รับในเวลากลางวันได้
รูปดาวพุธ
Image credit: http://solarsystem.nasa.gov/multimedia/gallery.cfm?Category=Planets
ตารางแสดงข้อมูลที่สำคัญของดาวพุธ
ค้นพบโดย นักดาราศาสตร์โบราณ |
|
ระยะทางโดยเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ |
57,909,175 km |
ระยะทางใกล้ที่สุดจากดวงอาทิตย์ |
46,000,000 km |
ระยะทางไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์ |
69,820,000 km |
รัศมีบริเวณเส้นศูนย์สูตร |
2,439.7 km |
เส้นรอบวงบริเวณเส้นศูนย์สูตร |
15,329.1 km |
ปริมาตร |
60,827,200,000 km3 |
มวล |
330,220,000,000,000,000,000,000 kg |
ความหนาแน่นเฉลี่ย |
5.427 g/cm3 |
ค่าความรีของวงโคจร |
0.20563069 |
อุณหภูมิผิว ต่ำสุด/สูงสุด |
-173/427 °C |
อ้างอิง
- เว็บไซด์ http://solarsystem.nasa.gov/planets/index.cfm
- เว็บไซด์ http://www.iau.org/iau0602.423.0.html
- Presentation ประกอบการสอนโรงเรียนจิตรลดาของ ศ.ดร. เดวิด รูฟโฟโล
- Jeffrey Bennett, Megan Donahue, Nicholas Schneider and Mark Voit, The essential COSMIC PERSPECTIVE, 3rd edition, Addison Wesley, USA, 2005.