ดาวศุกร์

(Venus)

 

ดาวศุกร์ เป็นดาวที่มีภาพลักษณ์ภาพนอกคล้ายโลกมากที่สุด เนื่องจากขนาด มวล ความหนาแน่นและองค์ประกอบของธาตุต่างๆ มีความคล้ายคลึงกับโลกมาก แต่สิ่งที่ทำให้โลกและดาวศุกร์มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็คือ ชั้นบรรยากาศซึ่งดาวศุกร์มีก๊าซที่หนาแน่นมาก จนกระทั่งเราไม่สามารถมองทะลุชั้นบรรยากาศลงไปถึงพื้นผิวของดาวศุกร์ได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ธรรมดา นอกจากนั้นบรรยากาศที่หนาแน่นนี้ยังเป็นตัวการเก็บกักความร้อนไว้ในดาวศุกร์ด้วย ทำให้ดาวศุกร์มีอุณหภูมิและความดันสูงกว่าโลกของเรามาก พร้อมกันกับการกักอุณหภูมิไว้ บรรยากาศที่หนาแน่นยังสะท้อนแสงส่วนมากที่มาจากดวงอาทิตย์ออกไปด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมดาวศุกร์จึงเป็นดาวที่สว่างมากที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั่นเอง

สิ่งที่น่าแปลกอีกประการหนึ่งของดาวศุกร์ คือ การหมุนรอบตัวเองที่ช้ามาก และเป็นการหมุนที่กลับทิศทางกับการหมุนโดยทั่วไป โดยที่หนึ่งวันของดาวศุกร์จะยาวนานถึง 117 วันของโลก และถ้าเราสามารถไปอยู่บนดาวศุกร์ได้ เราจะเห็นดาวอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก และดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันออกอันเนื่องมาจากการหมุนกลับทิศทางของดาวศุกร์

 

รูปดาวศุกร์

Image credit: http://solarsystem.nasa.gov/multimedia/gallery.cfm?Category=Planets

 

 

ตารางแสดงข้อมูลที่สำคัญของดาวศุกร์

ค้นพบโดย นักดาราศาสตร์โบราณ

ระยะทางโดยเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์

108,208,930 km

ระยะทางใกล้ที่สุดจากดวงอาทิตย์

107,476,000 km

ระยะทางไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์

108,942,000 km

รัศมีบริเวณเส้นศูนย์สูตร

6,051.8 km

เส้นรอบวงบริเวณเส้นศูนย์สูตร

38,025 km

ปริมาตร

928,400,000,000 km3

มวล

4,868,500,000,000,000,000,000,000 kg

ความหนาแน่นเฉลี่ย

5.24 g/cm3

ค่าความรีของวงโคจร

0.0068

อุณหภูมิผิว ต่ำสุด/สูงสุด

ประมาณ 462 °C

 

 

อ้างอิง

-    เว็บไซด์ http://solarsystem.nasa.gov/planets/index.cfm

-    เว็บไซด์ http://www.iau.org/iau0602.423.0.html

-    Presentation ประกอบการสอนโรงเรียนจิตรลดาของ ศ.ดร. เดวิด รูฟโฟโล

-    Jeffrey Bennett, Megan Donahue, Nicholas Schneider and Mark Voit, The essential COSMIC PERSPECTIVE, 3rd edition, Addison Wesley, USA, 2005