ดาวหาง

(Comets)

 

ในอดีตดาวหางเป็นสิ่งที่ผู้คนหวาดกลัว เนื่องจากเชื่อกันว่า ดาวหางเป็นสัญญาณของภัยพิบัติ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์รู้แล้วว่า ดาวหางเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งที่หลงเหลือจากการกำเนิดระบบสุริยะ อีกทั้งยังสามารถทำนายวงโคจรของดาวหาวได้บางส่วน โดยวงโคจรของดาวหางที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายได้มักจะเป็นดาวหางที่มีคาบการโคจรเร็ว ซึ่งดาวหางเหล่านี้ส่วนมากจะมาจากแถบคเปอร์ซึ่งเลยดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรนานมาก ๆ (เช่น 30 ล้านปีต่อรอบ) มักจะมาจากบริเวณเมฆออท (Oort cloud) ซึ่งอยู่ไกลกว่าแถบคเปอร์ออกไปอีก การคำนวณวงโคจรของดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวนานมาก ๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ละปีเราจึงมีโอกาสค้นพบดาวหางดวงใหม่ ๆ อยู่เสมอ

ส่วนประกอบหลักของดาวหางแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1.ส่วนที่เป็นของน้ำแข็ง เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น

2.น้ำแข็งจากนิวเคลียสส่วนหนึ่งจะละลายกลายเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมนิวเคลียส เรียกว่า โคมา (Coma) 

3.ส่วนหางของดาวหางที่แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยคือ หางไอออน (ion tail) ซึ่งเป็นอนุภาคมีประจุจากส่วนโคมาที่ถูกลมสุริยะพัดทำให้มีทิศชี้ออกจากดวงอาทิตย์ หางส่วนที่สองเรียกว่า หางฝุ่น (dust tail) เกิดจากอนุภาคที่ไม่มีประจุจากโคมา โดยส่วนของหางฝุ่นนี้จะโค้งตามการเคลื่อนที่ของดาวหางด้วย

 

 

รูปดาวหางนีด (Neat)

Image credit: http://solarsystem.nasa.gov/planets/profile.cfm?Object=Comets&Display=Gallery

 

 

รูปหางแก๊สและหางฝุ่นของดาวหาง

Image credit: http://solarsystem.nasa.gov/planets/profile.cfm?Object=Comets&Display=Gallery&Page=1

 

 

อ้างอิง

เว็บไซต์  http://solarsystem.nasa.gov/planets/index.cfm