ดาวบริวาร

(Satellites)

 

ดาวบริวาร คือ วัตถุท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ดาวบริวารมีขนาดตั้งแต่เล็กมาก ๆ จนถึงขนาดใกล้เคียงกับดาวเคราะห์ เช่น แกนีมีดของดาวพฤหัสและไททันของดาวเสาร์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธเสียอีก ที่มาของดาวบริวารเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่ง คือ การที่ดาวบริวารเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของดาวเคราะห์ โดยดาวบริวารประเภทนี้จะมีองค์ประกอบใกล้เคียงกับดาวเคราะห์ และมีโคจรไปในทางเดียวกับดาวเคราะห์ ส่วนดาวบริวารอื่น ๆ เช่นดาวที่โคจรในทิศตรงข้ามกับดาวเคราะห์หรือองค์ประกอบไม่เหมือนดาวเคราะห์ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การชนกันของดาวเคราะห์กับวัตถุขนาดใหญ่ซึ่งทำให้เศษซากที่เกิดจากการชนกลายเป็นบริวารของดาวเคราะห์ หรือการที่แรงดึงดูดของดาวเคราะห์ดักจับวัตถุท้องฟ้าที่เคลื่อนเข้ามาใกล้เป็นดาวบริวาร

 

รูปกานีมีด ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส

Image credit: http://solarsystem.nasa.gov/planets/profile.cfm?Object=Jup_Ganymede

 

รูปไททัน ดวงจันทร์ของดาวเสาร์

Image credit:  http://solarsystem.nasa.gov/planets/profile.cfm?Object=Sat_Titan

 

 

อ้างอิง

-    Jeffrey Bennett, Megan Donahue, Nicholas Schneider and Mark Voit, The essential COSMIC PERSPECTIVE, 3rd edition, Addison Wesley, USA, 2005 

-    John A. Wood, The Solar System, 2nd edition, Prentice-Hall, Inc., USA, 2000