โครโมสเฟียร์

(Chromosphere)

 

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/Ecl1991a.jpg

 

โครโมสเฟียร์ (Chromosphere)

โครโมสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่อยู่เหนือชั้นโฟโตสเฟียร์ หนาประมาณ 10,000 กิโลเมตรและมีอุณหภูมิตั้งแต่ 6000 องศาเซลเซียสไปจนถึง 20,000 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิระดับนี้ไฮโดรเจนจะปล่อยแสงสีแดง และเราสามารถเห็นจะเห็นโพรมิเนนซ์ (prominence) ซึ่งเราจะเห็นได้เฉพาะตอนเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง การที่เราเห็นโครโมสเฟียร์เป็นสี เป็นที่มาของชื่อของชั้นบรรยากาศนี้นั่นเอง (chromo = color -> color sphere)

เมื่อเรามองดวงอาทิตย์ผ่านฟิลเตอร์ H-alpha เราจะเห็นลักษณะเด่นของชั้นบรรยากาศโครโมสเฟียร์หลายอย่าง เช่น เครือข่ายสนามแม่เหล็กโครโมสเฟียร์ (chromosphreic network of magnetic field elements), พลาจ (plage) รอบ ๆ จุดมืด (sunspots), ฟิลาเมนท์ (filaments) ที่อยู่แนวขวาง, โพรมิเนนซ์ (prominences) เหนือขอบดวงอาทิตย์ และสปิคูล (spicules)

โครโมสเฟียร์เป็นที่ ๆ เกิดกิจกรรมของดวงอาทิตย์, การเกิดโพรมิเนนซ์  และ การเกิดฟิลาเมนท์ รวมไปถึงการไหลของสสารใน post-flare loops ด้วย

 

รูปแสดงเครือข่ายสนามแม่เหล็ก;โครโมสเฟียร์ (chromosphreic network of magnetic field elements),

พลาจ (plage), ฟิลาเมนท์ (filnaments) และ โพรมิเนนซ์ (prominences)

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/HI6563_fulldisk.jpg

 

เครือข่ายสนามแม่เหล็กโครโมสเฟียร์ (chromosphreic network of magnetic field elements)

เครือข่ายสนามแม่เหล็กมีลักษณะเหมือนใยแมงมุม สามารถสังเกตได้ง่ายเมื่อมองผ่านแสงสีแดง (ฟิลเตอร์ H-alpha) หรืออัลตราไวโอเลต (ฟิลเตอร์ Ca II K) ซูปเปอร์กรานูลที่พาเอาเส้นแรงแม่เหล็กไปด้วยระหว่างที่มันพาพลาสมา

 

รูปแสดงเครือข่ายสนามแม่เหล็ก5;โครโมสเฟียร์

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/CAII3934.gif

 

พลาจ (plage) และ ฟิลาเมนท์ (filaments)

ฟิลาเมนท์เป็นเส้นมืด ๆ เมื่อมองผ่านแสงสีแดงของไฮโดรเจน (H-alpha) โครโมสเฟียร์

 

รูป 1 แสดงพลาจและฟิลาเมนท์ โดยจะเป็นเส้นขาว ๆ ที่เห็นส่วนฟิลาเมนท์จะเป็นเส้นดำ ๆ

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/H_I_6563.gif

 

โพรมิเนนซ์ (prominences)

โพรมิเนนซ์เป็นกลุ่มเมฆของสสารที่เหนือผิวของดวงอาทิตย์ เกิดจากวงของสนามแม่เหล็ก ความจริงแล้วโพรมิเนนซ์กับฟิลาเมนท์ คือ สิ่งเดียวกันเพียงแต่มองจากคนละมุม คือโพรมิเนนซ์เราจะมองเฉียง ๆ คือ มองจากขอบของดวงอาทิตย์ ส่วนฟิลาเมนท์ คือ เรามองจากด้านบน ทั้งฟิลาเมนท์และโพรมิเนนซ์จะอยู่นิ่ง ๆ ประมาณ หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เมื่อวงแม่เหล็กของมันมีการขยับตัว มันก็อาจมีการปะทุและพุ่งออกมาในเวลาไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง

 

 

รูปแสดงโพรมิเนนซ์

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/prominence.jpg

 

สปิคูล (spicules)  

สปิคูล คือ การพุ่งของสสารจากผิวดวงอาทิตย์ลักษณะคล้ายเจ็ท ซึ่งมองเห็นผ่านเครือข่ายสนามแม่เหล็กโครโมสเฟียร์ได้ มันจะมีลักษณะเป็นเส้นแหลม ๆ เล็ก ๆ ดำ ๆ เมื่อมองผ่านแสงสีแดงของไฮโดรเจน สปิคูลจะอยู่แค่ไม่กี่นาที และมีความเร็วของการพุ่งประมาณ 20 ถึง 30 กิโลเมตรต่อวินาที

 

รูปแสดงสปิคูล

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/spicules_color.jpg

 

ชั้นบรรยากาศโครโมสเฟียร์ยังปล่อยไอออนของแคลเซียม (CaII) ซึ่งเป็นแสงสีม่วงที่มีความยาวคลื่นประมาณ 393.4 นาโนเมตร ซึ่งการปล่อยไอออนของแคลเซียมนี้มีประโยชน์ในการศึกษาชั้นบรรยากาศโครโมสเฟียร์และวัฏจักรของกิจกรรมของดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ อีกด้วย

 

รูปแสดงดวงอาทิตย์ที่มองด้วยฟิลเตอร์แคลเซียมไอออน

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/CAII3934_fulldisk.jpg

 

อ้างอิง

-   http://www.nasa.gov/worldbook/sun_worldbook.html

-    http://solarscience.msfc.nasa.gov/chromos.shtml

-    http://solarscience.msfc.nasa.gov/feature2.shtml