เดือนกรกฎาคม  2551

July 2008

 

ชีวิตที่รอดจากอุกกาบาตกระแทกโลก

Life Survived Catastrophic Space Rock Impact

July 1st, 2008

Adapted from : www.space.com

 

วัตถุที่ทำให้เกิดการตกกระแทกของดาวเคราะห์น้อย(asteroid) หรือดาวหาง(comet) ณ บริเวณใกล้อ่าว Chesapeake เมื่อ 35 ล้านปีก่อน พึ่งถูกตรวจสอบเป็นครั้งแรก ผลการวิเคราะห์เปิดเผยความยืดหยุ่นของชีวิตภายในสิ่งที่เกิดตามมาหลังจากภัยพิบัติครั้งนั้น หลุมอุกกาบาต ซึ่งถูกฝังลึก 120 ถึง 365 เมตร ใต้ทราย เลน และโคลน มีขนาดถึงสองเท่าของเกาะแมนฮัตตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยยังมีบ่างส่วนที่กลายมาเป็นอ่าว Chesapeake 

 

 

ภาพจำลอง 35 ล้านปีก่อน ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่หรือดาวหาง ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก

แล้วตกลงไปในบริเวณที่เป็นอ่าว Chesapeake ในปัจจุบัน 

Credit: © The Virginian-Pilot.

จากผลการสำรวจของ U.S. Geological Survey (USGS) ระบุว่าประมาณ 10,000 ปีก่อน แผ่นน้ำแข็งเริ่มละลาย แม่น้ำที่ก้นหุบเขาอันแห้งเหือดกลับชุ่มช่ำด้วยน้ำ แม่น้ำหลายสายในแถบ Chesapeake ก็ไหลมารวมกันสู่บริเวณที่เป็นหลุมอุกกาบาต แล้วกลบหลุมเหล่านั้นไปเสีย 
Gregory Gohn แห่ง USGS และคณะ ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างจากหลุมเจาะสำรวจสองหลุม ที่เจาะลงไปในหลุมอุกกาบาตโบราณ ใกล้ๆ ส่วนที่เป็นศูนย์กลางหลุม กล่าวว่า “ผมคิดว่าสิ่งที่เราต้องการจะทำคือการเจาะลงไปในใจกลางของหลุมอุกกาบาตและลงไปลึกที่สุดของส่วนหนึ่ง เท่าที่จะสามารถทำได้ และทำความเข้าใจกระบวนการที่นำพวกมันไปสู่สิ่งที่เราพบ”
ภายในไม่กี่วินาทีขณะสัมผัสพื้นของวัตถุดังกล่าว หินหลายก้อนจะถูกดันขึ้นสู่อากาศ แรงที่หลุมอุกกาบาตขุดพื้นจนทำให้เกิดหลุมนั้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เปลี่ยนหินที่เปลาะแตกง่ายให้เหมือนลูกอม แล้ววัสดุที่อยู่รอบๆ ขอบหลุมก็ลาดลงไปเป็นรูปอ่างที่เกิดจากการกดทับของก้อนหินขนาดยักษ์


 

 

แผนที่แสดงขอบเขตของหลุมอุกกาบาตที่อ่าว Chesapeake ทางตะวันออกของมลรัฐเวอร์จิเนีย 

และคาบสมุทร Delaware ตอนใต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา 

source: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/ca/Chesapeake_Crater_boundaries_map.png

นักวิจัยกล่าวว่าความร้อนสุดบรรยายนั้นฆ่าชีวิตเกือบทั้งหมดในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามพวกเขากลับพบจุลชีวันจำนวนมากอาศัยอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของหลุมอุกกาบาตในปัจจุบัน แบคทีเรียโบราณบางส่วนรอดชีวิตจากการตกกระแทกของอุกกาบาตครั้งนั้น เนื่องจากถิ่นหลบภัยขนาดเล็กของพวกมันนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากความร้อน จุลชีวันที่เหลือและที่พึ่งถูกค้นพบใหม่ถูกเชื่อว่าได้รวมตัวกันใหม่ภายในเขตทำลายล้างเท่าที่เป็นไปได้ก็หลายหมื่นปี หลังจากการพุ่งชน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงมาในระดับที่พอจะอยู่อาศัยได้ “การพุ่งชนทำลายและแยกชิ้นส่วนก้อนหิน” Mary Voytek นักจุลชีววิทยา จาก USGS กล่าว “และก็สร้างที่ว่างสำหรับจุลชีวันในการรวมกลุ่มและสร้างทางไหลของน้ำหรือสสารอื่นๆ ซึ่งดีเสมอสำหรับจุลชีพ” ดังนั้นเหตุการณ์แห่งการทำลายล้างอย่างนี้ก็สามารถให้คุณประโยชน์แก่จุลชีพ อย่างน้อยก็ในระยะยาว การตกกระแทกของอุกกาบาตทำลายกลุ่มหิน สร้างซอกหลืบหินสำหรับแบคทีเรียได้ใช้อาศัย และนำไปสู่การสร้างความสดใหม่ของแหล่งเก็บอาหารอีกด้วย 

 

 

รอยแยกของหินในบริเวณหลุมอุกกาบาต Chesapeake แสดงร่องรอยของการหลอมละลายที่เกิดขึ้น

ขณะดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางพุ่งชนผิวโลก ในบริเวณดังกล่าว เมื่อหลายล้านปีก่อน 

Credit: David S. Powars, USGS.

 

“มันคือบางสิ่งที่คล้ายคลึงกับการตายของวาฬ” เมื่อซากวาฬจมลงสู่ก้นทะเล Voytek อธิบาย “สิ่งนี้ก็เหมือนกับห้องอาหารของเหล่าจุลชีพ” การทำความเข้าใจผลกระทบเชิงชีววิทยาจากการพุ่งชนของอุกกาบาตจะช่วยส่งแสงไปสู่ศักยภาพสำหรับสิ่งมีชีวิต ณ ใต้ผืนดินลึก ในยุค Archaen เมื่อประมาณ 3.8 ถึง 2.5 พันล้านปีก่อน อันเป็นช่วงที่โลกถูกชนโดนอุกกาบาตบ่อยครั้งกว่าในยุคนี้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การทำนายชีวิตใต้ผืนดินลึกของดาวอังคาร

 

เรียบเรียงโดย : วัชราวุฒิ กฤตินธรรม ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

----------------------------------------------------------