พฤศจิกายน 2554 NOVEMBER 2011
November 16th, 2011
Adapt from www.spaceweather.com: SNAP! Erupting Filament
หลายวันที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ทั่วโลกได้เฝ้าสังเกตการณ์ฟิลาเมนต์มืด (dark filament) ที่กินระยะทางกว่าล้านกิโลเมตร เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา บางส่วนของมันได้พุ่งออกมาสู่อวกาศแล้ว ซึ่ง Solar Dynamics Observatory ได้บันทึกภาพเอาไว้ได้
|
|
ภาพพลาสมาพุ่งออกมาของฟิลาเมนท์มืด
Credit: SDO / AIA; http://spaceweather.com/images2011/15nov11/snap.gif
|
กิจกรรมนี้ได้ปล่อยกลุ่มเมฆพลาสมาไปสู่อวกาศ แต่ไม่ได้ตรงมายังโลก ผลกระทบเดียวที่มีต่อโลกคือความผิวหวังของเหล่านักสังเกตการณ์ที่หวังว่าจะเห็นฟิลาเมนท์ที่ยาวกว่านี้
|
November 15th, 2011
Adapt from www.spaceweather.com: A Remarkable Display Solar Activity
หากพูดถึงการปะทุที่ผิวดวงอาทิตย์แล้ว ในปัจจุบันยังคงเงียบอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมที่น่าประทับใจอย่างหนึ่งอยู่บนดวงอาทิตย์ คือมีพลาสมาขนาดใหญ่ก่อตัวเป็นกำแพง อยู่ทางตะวันออกฉียงใต้ของดวงอาทิตย์ซึ่ง Stephen Ramsden จากแอตแลนตาได้ถ่ายภาพไว้ได้เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา |
|
ภาพโพรมิเนนซ์ขนาดใหญ่
Credit: Stephen W. Ramsden
|
“นักสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ในฟอรั่มที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ทั่วโลกต่างกล่าวถึงกิจกรรมนี้ว่าเป็นโพรมิเนนซ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่พวกเขาเคยเห็นมา” สตีเฟนกล่าว
แม้มันจะน่าทึ่งแต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ใหญ่ที่สุด ฟิลาเมนท์มืดได้หมุนเกลียวเป็นเส้นทางประมาณครึ่งรอบวงของดวงอาทิตย์ ซึ่ง Solar Dynamics Observatory (SDO) ได้ถ่ายภาพไว้เมื่อช่วงเริ่มต้นของวันที่ 14 พ.ย.
|
|
ภาพฟิลาเมนท์เกลียวเป็นทางยาว
Credit: SDO / AIA
|
ระยะทางระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายของเส้นเกลียวสนามแม่เหล็กนี้มากกว่าล้านกิโลเมตร หรือประมาณสามเท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ หากเส้นสนามนี้ไม่เสถียร (ซึ่งมันก็มักเป็นอย่างนั้น) มันจะยุบตัวลงและชนกับผิวดวงอาทิตย์ จะจุดชนวนให้เกิดการปะทุแบบไฮเดอร์ (Hyder flare) ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าโครงสร้างของฟิลาเมนท์นี้เมื่อเกิดการลุกจ้าและมีพลาสมาพุ่งออกมาแล้ว มันจะมีทิศทางมาทางโลกหรือไม่
“ผมสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เนื่องจากตอนนี้เราก็ยังอยู่ห่างจากวัฏจักร Solar Maximum อีกปีกว่าๆ” สตีเฟนกล่าว “นี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะมีกล้องโทรทรรศน์สำหรับสังเกตดวงอาทิตย์สักตัว”
|
November 9th, 2011
Adapt from www.space.com: 2,000-Year-Old Supernova Mystery Solved by NASA Telescopes
กล้องโทรทรรศน์ของนาซ่าสองตัวได้ช่วยไขปริศนาการระเบิดของดาวฤกษ์ที่ถูกบันทึกไว้เมื่อเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว
ในปีค.ศ. 185 นักดาราศาสตร์ชาวจีนได้สังเกตเห็นสิ่งลึกลับที่ได้ตั้งชื่อว่า “guest star” ซึ่งปรากฏบนท้องฟ้าแหละอยู่บนท้องฟ้านานประมาณ 8 เดือน ซึ่งเมื่อปีค.ศ. 1960 นี้เองที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า “guest star” นี้คือหลักฐานชิ้นแรกของการสังเกตพบซูเปอร์โนวา-การตายอย่างรุนแรงของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกล
ในปัจจุบัน กล้องโทรทรรศน์ Spitzer ซึ่งดูแสงในช่วงอินฟาเรด และ Wide-field Infrared Survey Explorer (WISE) ได้เปิดเผยให้เห็นว่าเมื่อดาวฤกษ์ระเบิดในอวกาศที่ห่างไกลจากฝุ่นและก๊าซ มันจะสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลกว่าที่เราจะคาดการณ์ไว้
|
|
กล้องโทรทรรศน์ Spitzer (ซ้าย) และกล้องโทรทรรศน์ WISE (ขวา)
Credit: Courtesy NASA/JPL-Caltech และ http://photojournal.jpl.nasa.gov/browse/PIA12011.jpg
|
“เศษซากซูเปอร์โนวานี้มีขนาดใหญ่ และเคลื่อนที่ได้เร็วมากจริงๆ” ไบรอันวิลเลี่ยมส์ นักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนอร์ธคาโรไลนาในเรย์เลย์กล่าว “มันใหญ่กว่าขนาดที่เราประมาณไว้สำหรับซูเปอร์โนวาที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบสองพันปีมาแล้ว 2-3 เท่า และในที่สุดเราก็สามารถระบุสาเหตุที่มันใหญ่ขนาดนี้ได้”
|
|
ภาพซูเปอร์โนวาโบราณ RCW 86
Credit: http://wise.ssl.berkeley.edu/gallery_images/B-RCW86-IR-Xray-lg.jpg
|
ซูเปอร์โนวาโบราณที่ชื่อ RCW 86 นี้ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง แม้เราจะรู้ตำแหน่งของมัน แต่ทว่ารายละเอียดต่างๆ ของมันยังคงคลุมเครือ
ปริศนาของมันอย่างหนึ่งก็คือ สิ่งที่เหลืออยู่ของดาวฤกษ์นี้ใหญ่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ซึ่งถ้าหากเราสามารถมองเห็นแสงในช่วงอินฟาเรดด้วยแล้ว จะเห็นมันใหญ่กว่าดวงจันทร์เลยทีเดียว
เมื่อรวมข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์ Spitzer และ WISE เข้ากับข้อมูลจากหอดูดาว Chandra X-ray Observatory และ European Space Agency’s XMM-Newton Observatory แล้ว นักดาราศาสตร์จึงสามารถปะติดปะต่อจิ๊กซอว์ที่หายไปได้
นักดาราศาสตร์พบว่า RCW 86 เป็นซูเปอร์โนวาชนิด Ia ซึ่งเกิดกับดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์นี้หดตัวกลายเป็นดาวแคระห์ขาวก่อนที่จะดูดเชื้อเพลิง จากดาวคู่ของมัน หลังจากนั้นจึงได้เกิดระเบิดขึ้น
“ดาวแคระขาวเปรียบเหมือนถ่านที่กำลังลุกไหม้ หากเราเติมน้ำมันลงไป มันจะระเบิด” วิลเลี่ยมส์กล่าว
นี่เป็นครั้งแรกที่เราพบว่าดาวแคระขาวสามารถสร้างช่องว่างระหว่างตัวมันเองกับอวกาศรอบๆ ก่อนที่มันจะระเบิดในการระเบิดชนิด Ia การที่มีช่องว่างนี้เองเป็นเหตุผลที่ RCW 86 มีขนาดใหญ่อย่างที่เราเห็น
เมื่อเกิดการระเบิดขึ้น ช่องว่างจะทำให้สสารสามารถเข้าไปอยู่ได้โดยไม่ต้องผ่านการกีดขวางของก๊าซและฝุ่น ดังนั้นเศษซากของมันจึงสามารถไปอยู่ในช่องว่างนั้นได้อย่างรวดเร็ว
จากข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์ Spitzer และ WISE นักวิจัยสามารถวัดอุณหภูมิของฝุ่นที่เป็นซากที่เหลือของ RCW 86 และสามารถคำนวณปริมาณก๊าซที่อยู่ในซากที่เหลือจากซุเปอร์โนวาที่ต้องใช้ในการทำให้อุณหภูมิของฝุ่นสูงขนาดเท่านั้นได้
นักวิจัยพบว่าซากที่เหลือจากซูเปอร์โนวามีความหนาแน่นต่ำ ซึ่งแสดงถึงการมีอยู่ของช่องว่าง
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า RCW 86 เกิดจากการระเบิดแบบการยุบตัวของแกนกลาง (core-collapse supernova) ซึ่งเกิดเมื่อดาวฤกษ์มีมวลมากเกินไป ซูเปอร์โนวาแบบการยุบตัวของแกนกลางนี้เป็นการระเบิดแบบรุนแรงที่สุดของซูเปอร์โนวา แม้ว่าจะมีคำใบ้บางอย่างเกี่ยวกับช่องว่างของ RCW 86 แต่ในเวลานั้นมันดูเหมือนเป็นปรากฏการณ์ของซูเปอร์โนวาแบบการยุบตัวของแกนกลางมากกว่า ที่ดาวฤกษ์ปล่อยสสารออกมารอบๆ ตัวมันก่อนที่มันจะระเบิด แม้เหตุการณ์จะดูเหมือนเป็นเช่นนั้น แต่วิลเลี่ยมและคณะได้ตัดความเป็นไปได้ที่มันจะเป็นซูเปอร์โนวาแบบการยุบตัวของแกนกลางจากข้อมูลรังสีเอ็กซ์จาก Chandra และ XMM-Newton ซึ่งพบเหล็กเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ของซูเปอร์โนวาชนิด Ia ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลอินฟาเรดจาก Spitzer และ WISE แล้ว นักดาราศสาตร์สามารถแสดงให้เห็นว่า RCW 86 เป็นซูเปอร์โนวาชนิด Ia ที่เกิดในช่องว่าง
|
|
|