สุริยุปราคา

(Solar eclipse)

 

รูปสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550

Image credit: http://www.iayc.org/eclipse/sofi_composite_2_crop.jpg

 

สุริยุปราคา (Solar eclipse)

ก่อนที่จะรู้ว่าสุริยุปราคาคืออะไร  เกิดได้อย่างไร เกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน  เราจะพูดถึงดวงจันทร์ก่อน ดวงจันทร์ คือ วัตถุที่เป็นหิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,160 ไมล์ หรือ 3,476 กิโลเมตร ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ดวงจันทร์ใช้เวลาโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน ขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบ ๆ โลกนั้น เราจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะต่าง ๆ กันไปดังนี้ (เราเรียกระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์ว่า phases)

 

 

รูป moonphases

 

สุริยุปราคาสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านโลกและเงาของดวงจันทร์ตกลงบนโลกพอดี เวลานั้นเราจะสามารถเห็นชั้นบรรยากาศบางส่วน ของดวงอาทิตย์ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก ใช้เวลา 29.5 วัน ดังนั้นทุก ๆ เดือนเราก็น่าจะเห็นสุริยุปราคา แต่ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงประมาณ 5 องศาเทียบกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เงาของดวงจันทร์จะอยู่เหนือหรือไม่ก็ใต้โลก และจะมีแค่ 2 ปีต่อครั้ง ที่เงาของดวงจันทร์จะตกบนโลก

 

รูปแสดงการเกิดเงาของดวงจันทร์บนโลก

Image credit: http://www.mreclipse.com/Special/SEprimer.html/images/SEDiagram1c.JPG

 

เงาของดวงจันทร์ที่ตกลงบนโลกมีด้วยกัน 2 ส่วนคือ

1.    เงามัว (Penumbra) เป็นเงาที่อยู่รอบนอก

2.    เงามืด (Umbra) เป็นเงาที่อยู่ด้านใน จึงมืดสนิท

เมื่อเงามัวของดวงจันทร์ตกลงบนผิวโลก เราจะเห็นสุริยะคราสบางส่วนได้ สุริยะคราสแบบนี้อันตรายมากเมื่อมองด้วยตาเปล่า เนื่องจากส่วนของดวงอาทิตย์ที่ไม่ได้โดนบังจะยังคงสว่างอยู่มาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเงามืดของดวงจันทร์กวาดผ่านผิวโลก เราจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ถ้าดวงจันทร์อยู่ไม่ไกลจากโลกมากเกินไป และเราเรียกเส้นทางที่เงามืดพาดผ่านนี้ว่าเส้นทางของคราสเต็มดวง (path of totality) โดยมากจะเป็นระยะทางตามยาวประมาณ 10,000 ไมล์ แต่จะกว้างเพียง 100 ไมล์

 

รูปแสดงการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง

Image credit: http://www.mreclipse.com/Special/SEprimer.html/images/SEDiagram3c.JPG

 

 

ภาพถ่ายของสุริยุปราคาเมื่อปี 1991

Image credit: http://solarscience.msfc.nasa.gov/images/Ecl1991a.jpg

 

ช่วงเวลาที่เราสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนั้นสั้นมาก นอกจากนั้นโดยมากมักกินเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้น เราสามารถเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ 

ถ้าหากว่าดวงจันทร์อยู่ไกลจากโลกพอสมควร เงามืดจะไม่ตกบนผิวโลก แต่จะเกิดเงาลบ (antumbral) พาดผ่านผิวโลกแทน ทำให้เกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน และเราเรียกเส้นทางที่เงา antumbral พาดผ่านว่าเส้นทางของ antumbral

 

รูปแสดงการเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน

Image credit: http://www.mreclipse.com/Special/SEprimer.html/images/SEDiagram4c.JPG

 

สุริยุปราคาแบบวงแหวนนี้สามารถอยู่ได้ถึงหลายสิบนาที แต่พื้นที่ที่จะสังเกตได้ก็น้อยลงไปประมาณครึ่งหนึ่งด้วย เนื่องจากการเกิดคราสแบบนี้ ท้องฟ้ายังสว่างอยู่มาก ทำให้เราไม่สามารถเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้

 

ภาพถ่ายคราสวงแหวนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2548

Image credit: http://sci.esa.int/science-e-media/img/c0/Mvc-680f-410.jpg

 

 

อ้างอิง

http://www.mreclipse.com/Special/SEprimer.html