ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 

เดือนมิถุนายน 49

 

โลกถูกปิดล้อมด้วยฟองก๊าซร้อนแรง

Earth Surrounded by Giant Fizzy Bubbles

June 29th, 2006

ที่มาwww.space.com

อวกาศเหนือโลกขึ้นไปเต็มไปด้วย ฟองก๊าซความร้อนสูง ซึ่งขยายตัวและแตกออก ในอัตราคงตัวรอบๆ โลกนักวิทยาศาสตร์ประการอันตรกิริยานี้ ว่าเกิดจากสนามแม่เหล็กโลกชนกับกระแสธารอนุภาคที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปอวกาศมักถูกเข้าใจว่าว่าเป็นอาณาบริเวณว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย หรือเป็นสุญญากาศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อวกาศไม่ได้ปราศจากสิ่งใดๆ อย่างแท้จริง หากแต่มีก๊าซกระจายอยู่ทั่วไปแม้ว่าจะไม่หนาแน่นมากเมื่อเทียบกับอากาศที่เราหายใจบนผิวโลก ฟองก๊าซ ที่ค้นพบใหม่นี้เรียกว่า หลุมความหนาแน่น (Density holes) ซึ่งมีความหนาแน่นของก๊าซน้อยกว่า 10 เท่าของบริเวณโดยรอบ แต่ก๊าซภายในฟองก๊าซกลับมีอุณหภูมิถึง 10,000,000 องศาเซลเซียส ในขณะที่ก๊าซในอวกาศรอบนอกมีอุณหภูมิ 100,000 องศาเซลเซียส หรือที่เรียกกันว่าพลาสมา 180,000

 

แมกนีโตสเฟียร์ของโลก ( สีน้ำเงิน ) ล้อมรอบด้วยลมสุริยะ ช่องสี่เหลี่ยมสีขาวด้านซ้ายคือบริเวณที่ดาวเทียม Cluster

ของ ESA และดาวเทียม Double Star ของจีน ค้นพบหลุมความหนาแน่น จุดสีน้ำตาลแสดงอนุภาค

มีประจุตามทิศทางของสนามแม่เหล็กระหว่างดาวเคราะห์ ( สีดำ )

Credit: ESA

 

การค้นพบฟองก๊าซนี้มาจากข้อมูลที่เก็บในภารกิจ Cluster ขององค์การอวกาศยุโรป ( European Space Agency) อันประกอบด้วยกองยานอวกาศสี่ลำ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติของแมกนีโตสเฟียร์ ซึ่งในขั้นแรกนักวิจัยคิดว่าสัญญาณหล่านั้นเกิดจากความผิดพลาภายในยานอวกาศขณะที่ตัวยานบินผ่านกลุ่มฟองก๊าซ “ เมื่อผลเห็นข้อมูลจากยานทั้งสี่ลำ ความผิดปกติเหล่านี้ถูกพบโดยยานอวกาศทั้งหมด ซึ่งผมเชื่อว่านี่คงเป็นข้อมูลจริง ” George Parks แห่งมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย (เบิร์กลีย์) กล่าว

 

 

ข้อมูลสนามแม่เหล็กจากยาน Cluster และ Double Star แสดงหลุมความหนาแน่น

(density hole) ภายในลมสุริยะ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2548

Credit: G. Parks, SSL, UC Berkeley , USA

 

ฟองก๊าซขยายตัวได้ถึง 1,000 กิโลเมตร และอาจคงอยู่ได้นานถึงสิบวินาทีก่อนที่จะแตกตัว เแล้วมีลมสุริยะที่เย็นกว่า หนาแน่นกว่าไหลเข้ามาแทนที่ Parks และเพื่อนร่วมงานสรุป แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าฟองก๊าซเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่นักวิจัยหลายท่านคาดว่า อาจเกิดจากลมสุริยะชนกับสนามแม่เหล็กโลก ที่ทำให้เกิดขอบเขตที่เรียกว่า bow shock ปรากฏการณ์นี้คล้ายกับเมื่อหัวเรือเคลื่อนผ่านผิวน้ำทำให้เกิดหน้าคลื่นเป็นแนวโค้งคล้ายคันธนูตรงด้านหน้าเรือ

ภาพจำลองกองยานอวกาศ Cluster ภายใน magnetosphere Copyright: ESA

 

งานวิจัยนี้จะถูกตีพิมพ์รายละเอียดลงใน journal Physics of Plasmas ซึ่งช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจอันตรกิริยาระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กโลก

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

 

 

กำเนิดดาวเคราะห์คาร์บอน

The Birth of Carbon Planets ?

June 27th, 2006

ที่มาwww.skyandtelescope.com

มีความเป็นไปได้ที่จะพบดาวเคราะห์นอกระบบ ซึ่งหนาแน่นไปด้วยเพชรและกราไฟต์ กำลังก่อตัวรอบๆ ดาวฤกษ์เพื่อนบ้าน มีการค้นพบจานฝุ่นรอบๆ ดาวฤกษ์อายุน้อย Beta Pictoris ที่เต็มไปด้วยคาร์บอน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจะมีดาวเคราะห์อุดมคาร์บอนอย่างผิดปกติเกิดขึ้น ในขณะที่ดาวเคราะห์หินภายในระบบสุริยะของเราประกอบขึ้นจากแร่ซิลิเกต อย่าง quartz และ feldspar เมื่อปีก่อน Marc Kuchner จาก Goddard Space Flight Center และ Sara Seager จาก Carnegie Institution of Washington เสนอแบบจำลองที่แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงดาวเคราะห์ซิลิเกตเท่านั้นที่เป็นไปได้ ถ้าจานฝุ่นรอบดาวฤกษ์เกิดใหม่มีปริมาณคาร์บอนมากกว่าออกซิเจนดาวเคราะห์อุดมคาร์บอนก็อาจเกิดขึ้นได้ ข้อมูลจากดาวเทียม Far Ultraviolet Spectroscopic Explorer (FUSE) ของนาซาเผยหลักฐานของจานฝุ่นแบบดังกล่าว รอบ Beta Pictoris ซึ่งมีอัตราส่วนคาร์บอนต่อออกซิเจน 9 เท่า ขณะที่ดวงอาทิตย์มีปริมาณคาร์บอนใกล้เคียงกับออกซิเจน

 

Beta Pictoris Debris Disk

จำลองแถบมวลสารรอบ Beta Pictoris คาดกันว่าการชนกันเองของดาวเคราะห์น้อย

และดาวหางช่วยปลดปล่อยก๊าซที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง

Credit: Lynette Cook / NASA / FUSE.

 

Beta Pictoris มีอายุประมาณ 12 ล้านปี ห่างจากโลก 63 ปีแสง และถูกจับตามองมานานในฐานะตัวอย่างของระบบดาวเคราะห์ที่มีอายุน้อย แต่ปริมาณคาร์บอนที่มากผิดปกตินี้ทำเอานักวิจัยอัศจรรย์ใจไปตามๆ กัน

Aki Roberge จาก Goddard หัวหน้าทีมวิจัยนี้ อธิบายว่าเนื่องจากปริมาณคาร์บอนที่มากนี้เองจะทำให้ทั้งเปลือกดาวเต็มไปด้วย graphite (สารที่ใช้ทำไส้ดินสอ) ไปจนถึงเพชร “ ลองนึกถึงดาวเคราะห์ที่ขาดแคลนน้ำและออกซิเจนแต่กลับอุดมไปด้วย methane, propane,butane น้ำมันดิน (tar) และเขม่าถ่าน ชีวิตในโลกแบบนี้ย่อมประหลาดมาก ” ไม่เพียงแต่ดาวเคราะห์คาร์บอนเท่านั้น แต่ดาวเคราะห์คาร์บอนก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นระบบดาวนี้เป็นตัวอย่างระบบสุริยะเมื่อครั้งยังเยาว์

Carbon planet vs. silicate planet

ดาวเคราะห์คาร์บอนอาจมีแกนคล้ายดาวเคราะห์ซิลิเกตแบบโลก(ล่าง)

แต่ชั้นหินหลอมเหลวกับเปลือกดาวอาจอุดมไปด้วยคาร์บอน ในรูปของเพชร

Credit: Marc Kuchner / Sara Seager/Sky & Telescope

 

ปัญหาต่อไปก็คือคาร์บอนเหล่านั้นมาจากไหน Conel Alexander นักเคมีเอกภพ จาก Carnegie Institution of Washington อธิบายว่าสำหรับระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางอาจเป็นต้นเหตุ เมื่อเทหวัตถุเหล่านั้นชนกันเองภายในแถบเศษซากมวลสาร การชนแต่ละครั้งทำให้ก๊าซที่ประกอบด้วยคาร์บอนหลุดออกมา ทำให้เกิดคาร์บอนส่วนเกิดภายในระบบ แต่เนื่องจากระบบสุริยะของเรามีลมสุริยะที่รุนแรงกว่าจึงกวาดเอาคาร์บอนส่วนเกิดนั้นออกไปเมื่อหลายล้านปีก่อน ซึ่งมีการค้นพบตรวจพบคาร์บอนโบราณเหล่านี้ภายในระบบสุริยะ แต่อย่างไรก็ดี อนุภาคฝุ่นยังไม่มีปริมาณคาร์บอนเทียบเคียงได้กับในระบบ Beta Pictoris

 

Beta Pictoris disk in the infrared.

แสดงอุณหภูมิภายในจานฝุ่นก๊าซรอบ Beta Pictoris มีคาร์บอนปริมาณสูง ส่วนดาวฤกษ์ตรงใจกลางถูกบังเอาไว้

Credit : Jean-Luc Beuzit / GO / European Southern Observatory.

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

 

ประชากรดาวของกาแลกซีแอนโดรมีดา

Andromeda Revealed:New Closeups of Our Galactic Neighbor

June 22nd, 2006

ที่มาwww.space.com

ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อว กาศสปิตเซอร์ จันทรา และกล้องจากหอสังเกตการณ์เจมินี บนยอดเขา Mauna Kea ฮาวาย ให้รายละเอียดของ central bulge และ inner disk ของกาแลกซีแอนโดรมีดา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 260,000 ปีแสง ซึ่งใหญ่กว่าทางช้างเผือก 100,000 ปีแสง เผยภาพแหล่งกำเนิดแสงแปลกๆ และภาพโมเสสจากภาพถ่ายนับพันภาพในช่วงรังสีอินฟราเรด ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณมวลและอัตราการกำเนิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ภายในเวลาหนึ่งปี

 

จากกล้องสปิตเซอร์เมื่อรวมภาพดาวฤกษ์เก่าที่เป็นแผ่นเรียบ ( สีฟ้า ) และฝ ุ่ นก๊าซ ( สีแดง )

Credit: P. Barmby/Harvard-Smithsonian CfA/NASA/JPL-Caltech

 

นักวิจัยต่อภาพถ่ายอินฟราเรดกว่า 3000 ภาพ ซึ่งได้จากกล้องสปิตเซอร์ เพื่อทำแผนที่ดาวฤกษ์รุ่นเก่าในแอนโดรมีดา จากภายในเมฆฝุ่นก๊าซที่ห่มคลุมไปทั่วกาแลกซี ภาพถ่ายดาวฤกษ์รุ่นเก่าดูเหมือนแผ่นจานสีน้ำเงินนุ่มนวล ในขณะที่ภาพอินฟราเรดแสดงฝุ่นก๊าซเป็นวงแหวนเพลิงหลายวง ช่วยให้นักวิจัยวัดปริมาณแสงในช่วงรังสีอินฟราเรดได้เท่ากับดวงอาทิตย์ 4 พันล้านดวง

 

ปริมาณแสงดาวสัมพันธ์กับมวลของดาว ดังนั้นนักวิจัยจึงประมาณมวลรวมของดาวฤกษ์ทั้งหมดที่สังกัดแอนโดรมีดา ได้ประมาณ 110,000 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ และเนื่องจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในเอกภพเป็นดาวแคระแดง ซึ่งมีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ ดังนั้นจำนวนดาวฤกษ์จึงมากถึงล้านล้านล้านดวง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชากรดาวในแอนโดรมีดา ได้จากการคำนวณโดยใช้ภาพถ่ายอินฟราเรด อนึ่งกาแลกซีทางช้างเผือกของเรามีดาวฤกษ์ประมาณ 400,000 ล้านดวง

นักวิจัยคำนวณอัตราการเกิดของดาว ได้ค่าเฉลี่ย 0.6 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ต่อปี ซึ่งต่ำจนน่าประหลาดใจ เมื่อเปรียบเทียบกับทางช้างเผือกซึ่งมีอัตราการเกิดประมาณ 6 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ต่อปี

 

ภาพจากกล้องจันทรา สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน คือแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ กลาง

และสูง ตามลำดับ เผยใจกลางกาแลกซีอันโดรมีดา

Credit: NASA/UMass/Z.Li/Q.D.Wang

 

ขณะที่ผลการสังเกตการณ์จากหอสังเกตการณ์เจมีนีเหนือในฮาวาย ช่วยให้นักดาราศาสตร์ทำความเข้าใจ central bulge ของแอนโดรมีดา และ inner disk ในช่วงรังสีอินฟราเรดใกล้ กาแลกซีขนาดใหญ่จะมีปริมาณดาวฤกษ์หนาแน่นบริเวณใจกลาง (bulge) ภาพถ่ายแสดงดาวฤกษ์เดี่ยวนับพันภายในรัศมี 6,500 ปีแสงจากนิวเคลียส เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ นักดาราศาสตร์พบว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในบริเวณนี้มีอายุมาก และมีปริมาณธาตุหนักคล้ายกับดวงอาทิตย์ อันมีนัยว่าดาวบริเวณ inner disk มีอายุอย่างน้อย 6 พันล้านปี หรือครึ่งหนึ่งของอายุเอกภพ และพวกมันไม่ถูกรบกวนมาเป็นเวลานาน

 

ดาวฤกษ์นับพันภายในรัศมี 6,500 ปีแสง จากใจกลางกาแลกซีอันโดรมีดา โดยหอสังเกตการณ์เจมีนีเหนือ

Credit: Knut Olsen/Gemini North Observatory

 

ด้านกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ภาพถ่ายรังสีเอกซ์เป็นจุดแสงพร่าเลือนจากใจกลางกาแลกซีซึ่งเป็นรังสีเอกซ์จากเมฆก๊าซร้อน รังสีเอกซ์ดังกล่าวเกิดจากระบบดาวคู่ที่มีสมาชิกเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำที่กำลังดูดมวลสารออกจากผิวดาวอีกดวง ขณะที่มวลสารตกสู่ดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ มวลสารเหล่านั้นก็จะร้อนขึ้นถึง 10 ล้านองศา ซึ่งสูงพอจะเปล่งรังสีเอกซ์

เช่นเดียวกับ Messier 31 แอนโดรมีดาเป็นกาแลกซีเพื่อนบ้านที่ห่างจากเราไป 2.5 ล้านปีแสง ภายในกลุ่มดาวแอนโดรมีดา แม้ว่าจะมีขนาดใหญ่และมีจำนวนดาวฤกษ์มากกว่า แต่แอนโดรมีดากลับมีมวลน้อยกว่าทางช้างเผือกของเรา เนื่องจากมันมีสสารมืดน้อยกว่า

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

 

 

ปลดล๊อคนิยาม “ ดาวเคราะห์ ” กันยายนนี้

Definition of 'Planet' Expected in September

June 20th, 2006

ที่มาwww.space.com

นักประวัติศาสตร์และนักการศึกษาต้องร่วมมือกับนักดาราศาสตร์เพื่อปลดล๊อคข้อถกเถียงเกี่ยวกับ นิยาม ของ “ ดาวเคราะห์ ” ข้อยุติจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนนี้ แต่ทว่าการปรับปรุงตำราเรียนกลับเป็นสิ่งที่น่าท้าทายกว่าการค้นพบเทหวัตถุๆ ใหม่ๆ ที่ขอบระบบสุริยะเสียอีก

สมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ( International Astronomical Union : IAU ) จะประชุมเพื่อสรุปความหมายของดาวเคราะห์ในการประชุม General Assembly เป็นเวลา 12 วัน ณ กรุง Prague ในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อยุติข้อถกเถียงอันเกิดจากการค้นพบเทหวัตถุฟากฟ้า ที่ขอบระบบสุริยะ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปพร้อมทั้งประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน

 

มีเทหวัตถุหลายชิ้นที่มีขนาดใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าดาวพลูโต ถ้าหากนับวัตถุที่ใหญ่กว่าหรือ

เท่ากับพลูโตเป็นดาวเคราะห์เราก็จะมีดาวเคราะห์เพิ่มอีกนับร้อยนับพัน

Credit:NASA/JPL-Caltech/R. Hurt (SSC-Caltech)

 

ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่แล้ว เมื่อนักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุคล้ายดาวพลูโต ณ วงโคจรที่ไกลออกไป บางดวงเล็กกว่าพลูโต แต่ก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ บางดวงโคจรเป็นระนาบเอียงกับระนาบของดาวเคราะห์ 8 ดวงเป็นมุมค่อนข้างมาก ซึ่งอันที่จริงพลูโตถือว่ามีระนาบโคจรที่แปลกกว่าดาวเคราะห์ทั้งแปด และดูเหมือนจะคล้ายกับวัตถุใหม่ๆ เหล่านั้นด้วย ตัวอย่างเช่นในปี 2542 วัตถุ 2003 UB 313 มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตและโคจรรอบดวงอาทิต ย์ ผู้ค้นพบมัน M ike Brown จาก C altech ยืนยันว่ามันเป็นดาวเคราะห์ แต่หลายคนแย้งว่าถ้า

2003 UB313 ถูกนับเป็นดาวเคราะห์ เช่นนั้นเทหวัตถุที่มีขนาดและสมบัติแบบเดียวกันก็จะต้องเป็นดาวเคราะห์ด้วย นั่นคือจำนวนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะเพิ่มเป็นพันๆ ดวง

วงโคจรวงรีของ 2003 UB313 เส้นสีฟ้าคือแนวที่อยู่เหนือระนาบโคจรของดาวเคราะห์อื่นๆ ส่วนเส้นสีเหลืองอยู่ใต้ระนาบ

Credit:http://www.astrosurf.com/cometas/transnep/2003 UB313_orbita.jpg

 

IAU พยายามยุติข้อถกเถียงดังกล่าวโดยคณะกรรมการ IAU โต้เถียงกันมานานกว่าหนึ่งปี แต่นักดาราศาสตร์หลายคนยังไม่เห็นด้วยที่จะนิยามดาวเคราะห์ ด้วยมวล หรือจากวงโคจรเช่นเดียวกับรูปแบบการถือกำเนิด

ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้วพวกเขายังถกเถียงในประเด็นที่ว่าควรเติมคำขยายไว้ข้างหน้าดาวเคราะห์ด้วยว่า ดวงใดเป็นดาวก๊าซยักษ์ ดาวเคราะห์คล้ายโลก ดาวคล้ายดาวเคราะห์น้อย และแม้กระทั่งดาวเคราะห์ตามเหตุผลทางประวัติศาสตร์อย่างพลูโต ให้อยู่ในกลุ่ม “ ปกติ ” อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ถูกปัดตกจากโต๊ะเจรจาไปแล้ว

 

แถบ Kuiper Belt และ Oort Cloud อันเป็นบริเวณที่พบเทหวัตถุอย่างดาวหาง

และวัตถุคล้ายดาวพลูโต ซึ่งมีทั้งเล็กและใหญ่กว่าพลูโต กว่าหลายร้อยดวง

Credit:Donald K. Yeoman/NASA/JPL

 

ท้ายที่สุดด้วยการเพิ่มเติมกรรมการชุดใหม่ที่ประกอบด้วยนักประวัติศาสตร์และนักการศึกษา เพื่อเพิ่มมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์วิทยา และจะตัดสินกันด้วยการให้คณะกรรมออกเสียง จากนั้นเมื่อได้นิยามที่ได้รับการรับรองจากผลการออกเสียง ทาง IAU จะตีพิมพ์นิยาม “ ดาวเคราะห์ ” ในต้นเดือนกันยายนศกนี้

นักดาราศาสตร์หลายคนกระหายที่จะทราบว่า หากนิยามของดาวเคราะห์รวมขนาดของมวลเข้าไปด้วย 2003 UB313 และวัตถุที่คล้ายๆ กันอีกนับร้อย จะถูกรวมเข้าไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับดาวเคราะห์เดิม ทั้งเก้าหรือไม่ หรือว่าจะถูกแยกออกไปโดยนิยามว่าดาวเคราะห์ต้องมีวงโคจรใกล้เคียงวงกลม หรือว่าต้องรวมเอามวล และรูปแบบวงโคจรไว้ในนิยามด้วย

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

??????????????????????????

 

 

 

 

กิจกรรมอันน่าตื่นเต้นของซากดาวฤกษ์

Surprising Activity from a Dead Star

June 14th, 2006

ที่มาwww.space.com

สัญลักษณ์อันโดดเด่นของหลุมดำคือ “jet” ซึ่งเป็นแนวการเคลื่อนที่ของมวลสารที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากขั้วแกนหมุนทั้งสองของหลุมดำ ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง ปรากฏเป็นเสาสว่างในช่วงคลื่นวิทยุหรือรังสีอื่นๆ ที่มีพลังงานสูงกว่านี้ แต่ขณะนี้โทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์กลับได้ภาพลำมวลสาร จากซากดาวฤกษ์ความหนาแน่นสูง อย่างดาวนิวตรอน

ภาพจำลองแสดงดาวนิวตรอนดูดเอามวลสารของดาวคู่หูออกมาพลังงาน

ที่เกิดจากมวลสารที่ตกลงสู่ดาวนิวตรอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดาวนิวตรอนเก ิ ดลำ Jet จากขั้วทั้งสอง

Credit: NASA, JPL-Caltech, R. Hurt

 

“ เป็นเวลาหลายปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างของหลุมดำที่ป้อนพลังงานให้สสารที่พุ่งออกมาเป็นลำ jet อย่างต่อเนื่อง เพราะเราเคยพบแต่ jet จากระบบหลุมดำเท่านั้น Simone Migliari นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งคาลิฟอร์เนีย อธิบาย “ แต่ตอนนี้สปิตเซอร์พบว่ามีลำ jet ออกมาจากดาวนิวตรอนในระบบดาวคู่รังสีเอกซ์ 4U 0614+091

 

หลุมดำทำให้สนามแม่เหล็กบิดเป็นเกลียวทรงกรวยพุ่งออกไปทางขั้วการหมุน

อนุภาคมีประจุที่ถูกยิงออกไปจึงถูกกักไว้ภายในสนามแม่เหล็กดังกล่าว จนเห็นเป็นลำ jet ในช่วงคลื่นวิทยุ

Credit:Space Telescope Science Institute.

 

เรารู้ว่าลำ jet ต้องได้รับเชื้อเพลิงจากบางสิ่งที่ระบบทั้งสองมีเช่นเดียวกัน ” ระบบดาวคู่รังสีเอกซ์ ประกอบด้วยดาวฤกษ์หนึ่งดวงกับดาวนิวตรอนหรือหลุมดำอีกดวงหนึ่ง ดาวฤกษ์โคจรรอบซากดาวฤกษ์ที่มีความหนาแน่นสูง คล้ายกับโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ สนามแรงโน้มถ่วงของดาวนิวตรอนเข้มข้นกว่าดาวฤกษ์คู่หู 14 เท่า นั่นคือดาวนิวตรอนมีมวลมากกว่าดาวอีกดวง 14 เท่า ซึ่งมากพอที่จะดึงเอาก๊าซในชั้นบรรยากาศของเพื่อนบ้านออกมาสร้างเป็นแผ่นวงแหวนมวลรอบๆ ดาวนิวตรอน วงแหวนมวลหรือที่รู้จักกันในชื่อ accretion disk ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของทั้งระบบดาวคู่รังสีเอกซ์ที่มีสมาชิกดวงใดดวงหนึ่งเป็นหลุมดำ หรือดาวนิวตรอน “ ข้อมูลของเราแสดงให้เห็นการมีอยู่ของ accretion disk และสนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงซึ่งอาจเป็นทั้งหมดที่เราจำเป็นต้องใช้อธิบายแหล่งพลังงานของลำ jet” Migliari คาด

 

 

ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุทำให้เรามองเห็นลำ Jet จากหลุมดำใจกลางดาราจักร M87 (บนซ้าย,ล่าง)

ขวาคือกาแลกซี M87 จากกล้องฮับเบิลซึ่งถ่ายในช่วงแสงที่ตามนุษย์มองเห็น

Credit: NASA/Space Telescope Science Institute NRAO, NSF, Associate Universities, Inc., NASA,

and John Biretta (STScI/Johns Hopkins University)

 

 

การค้นพบลำ jet จากหลุมดำต้องใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ แต่สำหรับดาวนิวตรอนที่ให้สัญญาณอ่อนกว่านับ 10 เท่า นั่นหมายความว่าจำเป็นต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนานกว่าจะพบว่ามันเป็นลำมวลสารจากดาวนิวตรอน แต่สำหรับกล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์ ซึ่งมีเครื่องตรวจวัดที่ไวในช่วงรังสีอินฟราเรดอยู่แล้ว ทำให้มันสามารถตรวจพบลำ jet อันริบหรี่นี้ได้ ในจุดที่อยู่ห่างจากโลก 10,000 ปีแสงในกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ภายในเวลาไม่กี่นาที

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

 

 

ดวงจันทร์ Enceladus อาจเคยย้ายขั้ว

Saturn's Moon did Cosmic Flop

June 8 th, 2006

ที่มาwww.space.com

ดวงจันทร์ Enceladus ของดาวเสาร์อาจถูกเปลี่ยนแกนหมุนเมื่อเวลาใดเวลาหนึ่งนานมาแล้ว ซึ่งจะช่วยอธิบายปรากฏการณ์แปลกๆ ที่ยานอวกาศ Cassini พบบนดวงจันทร์นี้

ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ Enceladus จากยานคาสสินี เมื่อตัวยานโคจรผ่านด้านหลัง แล้วหันกลับมาถ่ายภาพ

จะเห็นด้านกลางวันปรากฏเป็นเสี้ยว ทางด้านขั้วใต้มีแหล่งความร้อนที่พ่นมวลสารออกสู่อวกาศ

Credit: NASA/JPL/Space Science Institute

 

บริวารดาวเสาร์ดวงนี้มีจุดร้อน ( hot spot) บริเวณขั้วใต้ อันเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำและมีไอน้ำถูกพ่นออกมาสู่อวกาศ ตามรายงานจากยาน Cassini ความร้อนใต้ผิวดาวดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงจากดาวเสาร์ซึ่งส่งอิทธิพลมาถึง Enceladus อันแสงห่างไกล นอกจากนี้ยังมีปริศนาให้น่าขบคิดคือทำไมจึงมีจุดร้อนที่ขั้วใต้เท่านั้น

“ เมื่อเราพิจารณาข้อมูลจากยาน Cassini เราประหลาดใจว่าทำไมจุดร้อนถึงปรากฏอยู่แค่ขั้วใต้เท่านั้น ” Francis Nimmo จากมหาวิทยาลัยแห่งคาลิฟอร์เนีย ( University of California ) ซานตาครูซ “ ดังนั้นเราจึง ตั้งสมมติฐานว่ามันอาจจะเกิดที่ไหนสักแห่งที่ไม่ใช่ขั้ว แต่เมื่อดวงจันทร์ Enceladus เปลี่ยนแกนหมุน มา ณ บริเวณที่จุดร้อนอยู่ จุดร้อนจึงกลายเป็นขั้วแทน ”

 

จุดร้อนใต้ผิวดวงจันทร์น้ำแข็ง Enceladus ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำ

ซ้ายมือคือจุดร้อนที่คาดว่าจะพบ แต่จากข้อมูลจริงพบว่าจุดร้อนไปอยู่ที่ขั้วใต้

Credit: NASA/JPL/GSFC/SWRI

 

 

Nimmo และสมาชิกกลุ่มวิจัยอธิบายในบทความซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน ว่า สสารใต้ผิวดวงจันทร์ Enceladus ถูกละลาย ณ ที่ใดที่หนึ่งแล้วขยายตัวออกไปพร้อมกับลดความหนาแน่นลง และเช่นเดียวกับวัตถุที่กำลังหมุนทุกชนิด ดวงจันทร์จะหมุนรอบตัวเองได้เสถียรขึ้นถ้าบริเวณที่มวลมีความหนาแน่นต่ำอยู่ที่ขั้วและบริเวณที่มวลมีความหนาแน่นสูงอยู่ที่ศูนย์สูตร ดังนั้น Enceladus จึงวางตัวเสียใหม่ในทำนองเดียวกัน

 

 

แผนที่ผิว Enceladus แสดงให้เห็นหลุมอุกบาต ที่มีอยู่หนาแน่นในบางบริเวณโดยเฉพาะรอบๆ ขั้วเหนือ

Credithttp://ciclops.org/media/ir/ 2005/1738 _ 4391 _ 0. jpg

 

มีหลักฐานเดียวที่จะยืนยันว่าดวงจันทร์มีการเปลี่ยนขั้ว นั่นคือบริเวณที่เป็นซีกเหนือ - ใต้ เดิมควรมีหลุมอุกกาบาตมากกว่า ณ บริเวณที่ซีกเดิมกับซีกเก่าซ้อนทับกันอยู่ และถ้าขั้วย้ายตำแหน่งไป 90 องศา หลุมอุกกาบาต ณ บริเวณที่ซีกเหนือใต้ที่คาบเกี่ยวกันก็ต้องมากขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

 

 

เมื่อท่อนาโน อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

Nanotubes Might Not Have the Right Stuff

June 8 th, 2006

ที่มาwww.space.com

นักวิทยาศาสตร์และแฟนๆ นิยายวิทยาศาสตร์ เห็นพ้องต้องกันว่าท่อนาโนคาร์บอน( carbon nanotube) อาจใช้ในแผนการณ์ใหญ่ๆ ได้

ท่อนาโนคาร์บอนถูกคาดหวังว่าจะใช้สร้างสายเคเบิลที่แข็งแรงพอสำหรับสร้าง ลิฟต์อวกาศ ( space elevator) อย่างไรก็ดีจากการคำนวณของ Nicola Pugno แห่งสถาบันอุตสากรรม และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ( Polytechnic) เมืองตูริน ( Turin ) ประเทศอิตาลี แสดงให้เห็นว่าท่อนาโนาคาร์บอน อาจใช้การไม่ได้

 

ตัวอย่างลิฟต์อวกาศที่น่าจะเป็นไปได้หากมีวัสดุที่แข็งแกร่งและทนทานพอ

Credit:PHOTO ILLUSTRATION BY ADAM WEISKIND - STAFF; IMAGES COURTESY OF NASA

 

วิศวกรชาวอเมริกัน สนใจปัญหานี้นับแต่กลางทศวรรษที่ 60 ว่าวัสดุชนิดใดสามารถนำมาสร้างลิฟต์อวกาศได้ และผลการคำนวณก็ชี้ว่าสายเคเบิลที่ใช้สร้างควรมีความแข็งแรงเป็นสองเท่าของ วัสดุที่ประกอบขึ้นเป็นกราไฟต์ ควอตซ์ และเพชร นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดัง อาร์เธอร์ ซี คลารก์ ( Arthur C. Clarke) เสนอทางออกให้กับการค้นหาวัสดุดังกล่าว ความช่างคิดของเขาให้ผลผลิตมาเป็น วัสดุที่มีความแข็งแรงกว่าเพชร ซึ่งปรากฏในนิยายชิ้นเยี่ยมในปี 2521 เรื่อง The Fountains of Paradise เขาจินตนาการว่าจะมีคาร์บอนรูปแบบพิเศษที่เรียกว่า ผลึกเพชร 1 มิติเทียม ต่อเนื่อง ( continuous pseudo-one dimensional diamond crystal) เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับสร้างลิฟต์อวกาศ ยังความยินดีแก่ผู้นิยมนิยายวิทยาศาสตร์และวิศวกรยานบินอวกาศ นักวิจัยชาวญี่ปุ่น Sumio Iijima ( จากบริษัท N EC) ค้นพบท่อนาโนคาร์บอน ซึ่งเป็นเส้นคาร์บอนยาว มีความแข็งแรงเป็น 100 เท่าของโลหะ ที่น้ำหนักเพียงหนึ่งในหก และทนทานแต่แรงตึงปริมาณมหาศาล

 

ท่อนาโนคาร์บอนประกอบขึ้นจากอะตอมคาร์บอนจับกันเป็นผลึกยาวออกไป

Credit:http://www.nccr-nano.org/nccr/media/gallery/gallery_ 01/ gallery_ 01 _ 03

 

มีบางสิ่งที่ทำให้ผู้ชื่นชอบลิฟต์อวกาศต้องผิดหวัง Pugno คำนวณข้อบกพร่องซึ่งเลี่ยงไม่ได้อาจทำให้ท่อนาโน ลดความแข็งแรงลงอย่างมาก การทดสอบภายในห้องทดลองสาธิตว่าท่อนาโนเดี่ยวที่ปราศจากมลทิน สามารถทนความตึงภายในท่อได้ถึง 100,000 ล้านปาสกาล อย่างไรก็ตามหากท่อนาโนสูญเสียคาร์บอนอะตอมไปเพียงหนึ่งอะตอม ความแข็งแกร่งของมันจะถูกลดลงไปถึงร้อยละสามสิบ วัสดุที่ประกอบขึ้นจากนาโนคาร์บอนจำนวนมากก็จะลดความแข็งแรงลงเฉลี่ยน้อยกว่า 1,000 ล้านปาสกาล เพื่อการใช้งานลิฟต์อวกาศควรจะทดแรงตึงได้อย่างน้อย 62,000 ล้านปาสกาล ด้วยเหตุนี้การมีอยู่ของข้อบกพร่องดังกล่าวจะทำลายท่อนาโนคาร์บอนรวมไปถึงลิฟต์อวกาศด้วย

 

ท่อนาโนคาร์บอนจากห้องปฏิบัติการ

Credit:http://www.nec.co.jp/press/ja/pr-room/cnt-img/cnt-02.jpg

 

สำหรับสาวกผู้เทิดทูนท่อนาโน เคยต่อต้านแนวคิดที่ว่า สายเคเบิลที่สร้างจากกลุ่มท่อนาโนยาวอาจทำให้เกิดแรงเสียดทานภายในซึ่งทำเพื่อท่อนาโนแต่ละเส้นลดความแข็งแรงลง

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

 

 

 

ภาพลวงตา quasar แยกร่างเป็นห้า

Hubble captures a ‘quintuple' quasar

June 6 th, 2006

ที่มาwww.esa.org

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายภาพซึ่งไม่เคยมีใครถ่ายได้มาก่อน เมื่อมันสามารถจับภาพ quasar ไกลโพ้นแห่งเดียวแต่ถูกแยกออกเป็น quasar ห้าแห่ง ซึ่งเกิดจากเลนส์ความโน้มถ่วงอันเนื่องมาจากดาราจักรหรือซูเปอร์โนวาซึ่งขวางหน้า quasar นั้น

 

เลนส์ความโน้มถ่วงซึ่งหักเหแสงจากวัตถุหลังเลนส์ให้เกิดเป็นภาพลวงตา หรือภาพบิดเบี้ยวดังรูป

credit: ESA

 

ภาพอันโดดเด่นนี้ แท้จริงคือกลุ่ม quasar เพียงแห่งเดียว แต่ถูก “ เลนส์ความโน้มถ่วง ” ( gravitational lensing) ซึ่งมีที่มาจากสนามแรงโน้มถ่วงของวัตถุที่มีมวลมหาศาล ในที่นี้ คือกระจุกกาแลกซี ( galaxy cluster ) บิดอวกาศโดยรอบกระจุกกาแลกซีให้โค้ง จนแสงที่มาจากเลนส์ความโน้มถ่วงดังกล่าว ในกรณีนี้ก็คือ quasar แห่งหนึ่ง ถูกขยายและเลี้ยวเบน จนเห็นเป็นแหล่งกำเนิดแสงมากกว่าหนึ่งแห่ง จากตำแหน่งต่างๆ กัน

 

แม้ว่าจะมี quasar อื่นๆ ที่ถูกแยกออกเป็นหลายภาพ แล้วถูกถ่ายไว้ได้ก่อนหน้านี้ แต่นี่เป็นกรณีแรกที่ทั้งกระจุกกาแลกซีทำหน้าที่เป็นเลนส์ความโน้มถ่วง

 

Sky region hosting galaxy cluster SDSS J1004+4112

กระจุกกาแลกซี SDSS J1004+4112

Credits: ESA/Hubble and Digitized Sky Survey 2

 

กระจุกกาแลกซีที่ทำตัวเป็นเลนส์นี้คือ SDSS J1004+4112 ถูกค้นพบโดยโครงการ Sloan Digital Sky Survey มันเป็นกระจุกกาแลกซีไกลโพ้นไม่กี่แห่งที่เรารู้จัก ห่างออกไป 7 พันล้านปีแสง ซึ่งเป็นภาพเมื่อครั้งที่เอกภพมีอายุได้ครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน

ในภาพกระจุกกาแลกซีนี้สร้างร่องรอยคล้ายใยแมงมุมจากกาแลกซีไกลโพ้นอื่นๆ ด้วยเลนส์ความโน้มถ่วงจนเห็นเป็นเส้นโค้งสว่าง ส่วน quasar ด้านหลังเห็นเป็นแกนกลางสว่างสุกใสของเอกภพซึ่งได้รับพลังงานจากหลุมดำ ซึ่งดูดกลืนก๊าซและฝุ่นแล้ว เมื่อแสงจาก quasar เฉียดผ่านสนามความโน้มถ่วงของกระจุกกาแลกซีซึ่งขวางระหว่างเรากับ quasar แสงจะเคลื่อนตามกาล - อวกาศ ที่ถูกบิดจนโค้ง ทำให้เราเห็นเป็นภาพลวงตาทั้งห้าภาพ

 

ภาพ Quasar รูปที่ห้า สุกสว่างด้านขวาของกลางกระจุกกาแลกซี โดยทั่วไปภาพที่ถูกสร้างจากเลนส์ความโน้มถ่วงมักจะไม่ชัดเจนนักและถูกกลบด้วยแสงจากวัตถุที่ทำตัวเลนส์เสียวเอง สำหรับ SDSS J1004+4112 นี้ใช้กล้องฮับเบิลถ่ายภาพได้สี่ภาพ แล้วนำมารวมกับภาพที่ห้าซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายห่างแกนกลางกระจุกกาแลกซี

Quasar ดังกล่าวเป็นแกนกลางของดาราจักรที่ห่างออกไป 10,000 ล้านปีแสง สามารถมองเห็นแสงจากกาแลกซีเป็นเส้นโค้งสีแดงไม่ค่อยสว่าง

 

Hubble captures a ‘five-star' rated gravitational lens

quasar หนึ่งเดียวที่แยกเป็นห้า ผลจากเลนส์ความโน้มถ่วงขนาดยักษ์

Credits: ESA/NASA/Keren Sharon ( Tel-Aviv University ) and Eran Ofek (CalTech)


 
  ภาพจากกล้องฮับเบิล เผยร่องรอยเส้นโค้งยาว ซึ่งแท้จริงเป็นกาแลกซีไกลโพ้นด้านหลังกระจุกกาแลกซี แสงจากกาแลกซีถูกแยกออกเป็นภาพบิดเบี้ยว เราจึงสามารถระบุได้ว่าวัตถุท้องฟ้าใดทำตัวเป็นเลนส์ความโน้มถ่วง กาแลกซีที่ไกลที่สุดอยู่ไกลถึง 12,000 ปีแสง

เมื่อเปรียบเทียบกับภาพจากกระจุกกาแลกซีแห่งเดียวกันจากกล้องฮับเบิลเมื่อปีก่อน นักวิจัยพบสิ่งที่เกิดไม่บ่อยนัก นั่นคือ การระเบิดของดาวฤกษ์ ( supernova) ในกาแลกซีแห่งหนึ่งของสมาชิกกระจุกนี้ ซึ่งเป็นซูเปอร์โนวาที่ระเบิดขึ้นเมื่อ 7,000 ล้านปีก่อน
 
 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

##################

 


SOHO ผู้นำกองยานสำรวจดวงอาทิตย์

ESA's SOHO will lead a fleet of solar observatories

June 6 th, 2006

ที่มาwww.esa.int

โครงการ SOHO ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ได้รับเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินภารกิจออกไปอีก เริ่มจากเมษายน 2550 ถึง ธันวาคม 2552 และคาดว่าจะเป็นตัวนำในกองทัพยานอวกาศสำรวจดวงอาทิตย์ ซึ่งมีแผนทยอยปล่อยสู่อวกาศในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า

ยานอวกาศ SOHO credit: ESA/NASA

 

ตั้งแต่หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ (Solar and Heliospheric Observatory:SOHO) ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 2 ธันวาคม 2538 ดาวเทียมดังกล่าวเปิดเผยภาพดวงอาทิตย์ที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน และไม่ใช่แค่มองดวงอาทิตย์ด้านที่หันเข้าหาโลกเท่านั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์สองท ี มพ ั ฒนาเทคน ิ คท ี่ จะใช ้ SOHO ถ ่ ายภาพดวงอาท ิ ตย ์ ด ้ านตรงข ้ าม ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถมองผ่านเข้าไปด้านในดวงอาทิตย์โดยวัดคลื่นสั่นสะเทือน (seismic wave) ที่ผิวดาว

นักวิทยาศาสตร์กว่า 2300 คน ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมดวงนี้ทำงานวิจัย ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับ มากกว่า 2,400 บทความ โดยเฉพาะสองปีล่าสุด จะมีบทความซึ่งใช้ข้อมูลจาก SOHO อย่างน้อยหนึ่งชิ้นได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ทุกๆ หนึ่งวันทำการ

 

ยานอวกาศ Solar B ขององค์การอวกาศญี่ปุ่น

มีเป้าหมายในการศึกษาการกำเนิดและสูญสลายของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์

ลมสุริยะ การประทุที่ผิว การส่องสว่าง รวมถึงการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีเอกซ์

Credit:JAXA/NAOJ

 

สองปีข้างหน้า จะมียานสำรวจดวงอาทิตย์อีกห้าลำ ถูกส่งขึ้นบนวงโคจรนอกโลก สองในห้าเป็นยานอวกาศของ ESA ยาน Solar B ของญี่ปุ่นโดย JAXA (Japan Aerospace Exploration Agency) โดย ESA ให้ญี่ปุ่นใช้สถานีภาคพื้นดินที่ Svalbard ประเทศนอร์เวย์ แลกเปลี่ยนกับการเข้าถึงข้อมูลจากยาน Solar B ปีถัดไป ESA จะส่ง Proba-2 เป็นดาวเทียมติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ สำหรับเก็บข้อมูลดวงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น กล้อง EIT ซึ่ง Proba-2 จะใช้เพื่อติดตามการขั้นตอนการปะทุจากผิวดาวอาทิตย์ขณะที่มันเดินทางในอวกาศด้วย

NASA มีแผนที่จะปล่อยดาวเทียมคู่ STEREO ภายในปีนี้ และดาวเทียม Solar Dynamics Orbiter ในปี 2551 เพื่อประสานงานกับ SOHO โดยจะใช้ SOHO เป็นจุดเก็บข้อมูลชุดที่สาม ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับ STEREO เช่นกันยาน SOHO ยังมีอุปกรณ์ coronagraph ที่ไม่มีติดตั้งบนดาวเทียมดวงอื่นๆ นี่ทำให้ยาน SOHO ยังมีสามารถวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์ได้

 

ดาวเทียมคู่ STEREO กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้าง ณ Astrotech ศูนย์อวกาศเคนเนดี ฟลอริดา Image

credit: NASA


  Hermann Opgenoorth แห่ง ESA คาดว่าเราจะมีกองยานอวกาศเพื่อพัฒนาโครงการ International Living With a Star programme (ILWS) อันเป็นความร่วมมือระยะยาวระดับนานาชาติในการศึกษาดวงอาทิตย์และอิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อโลกกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ ILWS จะบรรลุวัตถุประสงค์เมื่อดาวเทียม Solar Orbiter ของ ESA ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2558 โดยดาวเทียมดวงนี้จะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เพื่อเก็บข้อมูลดวงอาทิตย์ที่ใกล้ชิดขึ้น
 
 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

##################

 

 

หลุมอุกกาบาตยักษ์ใต้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้

Giant Crater Found: Tied to Worst Mass Extinction Ever

June 6 th, 2006

ที่มาwww.space.com

เผยภาพหลุมอุกกาบาตขนาดเท่าหลุมอุกกาบาตที่ Ohio สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ทวีปแอนตาร์คติกา หรือขั้วโลกใต้ นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันเกิดจากหินอวกาศที่ทำให้เกิดการศูนย์พันธุ์ครั้งใหญ่บนโลกเมื่อราว 250 ล้านปีก่อน หลุมอุกกาบาตดังกล่าวอยู่ลึกลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งหนาประมาณ 800 เมตร ถูกพบโดยใช้เครื่องวัดที่ติดตั้งบนเครื่องบิน และจากดาวเทียม ทำให้เห็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์

จากเรดาร์บนเครื่องบินตรวจการณ์ ที่ระดับความสูงเหนือทวีปแอนตาร์คติกาฝั่งตะวันออก พื้นที่สูงแสดงด้วยสีแดง

ม่วง และขาว ณ บริเวณ Wilkes Land ในวงกลมใหญ่ คือหลุมอุกกาบาต เปรียบเทียบกับขนาดของหลุมอุกกาบาต Chicxulub ทางมุมขวาล่าง

Credit: Ohio State University

 

บริเวณที่พบหลุมอุกกาบาตอยู่ใน Wilkes Land บริเวณด้านตะวันออกของแอนตาร์คติคกา ใกล้ๆ กับออสเตรเลียตอนใต้ นักวิจัยคาดว่าการกระแทกครั้งนั้นช่วยสนับสนุนแนวคิดการแยกตัวของมหาทวีป Gondwana ที่ผลักทวีปออสเตรเลียขึ้นไปทางเหนือ “ การพุ่งชน ณ Wilkes Land นี้รุนแรงกว่าเหตุอุกกาบาตกระแทกโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ และทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่บนโลกเช่นกัน ” Ralph von Frese ศาสตราจารย์ธรณีวิทยาจากมหาวิทย าลัยรัฐโอไฮโอ อธิบาย

 

จากอุปกรณ์วัดสนามแรงโน้มถ่วงบนดาวเทียม GRACE บริเวณที่มีมวลหนาแน่นแสดงด้วยสีแดงเข้ม

หลุมอุกกาบาต Wilkes Land อยู่ในวงกลมขาว

Credit: Ohio State University

 

หลุมอุกกาบาตใต้แผ่นน้ำแข็งแห่งนี้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 48 กิโลเมตร พบโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดแรงโน้มถ่วงซึ่งติดตั้งบนดาวเทียม GRACE ของนาซา นักวิจัยพบกระจุกมวลหนาแน่นที่เรียกว่า mascon หรือ ปุ่มหินที่ยื่นขึ้นมาจากใจกลางหลุมอุกกาบาตที่ถูกชนอย่างรุนแรงจนหินหลอมเหลวแข็งตัวในสภาพนั้น “ ถ้าผมเห็น mascon บนดวงจันทร์ ก็บอกได้เลยว่าจะต้องเห็นหลุมอุกกาบาตล้อมรอบมันอีกที ” Frese เสริม

Frese และลูกทีมใช้ข้อมูลจากเครื่องบินติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพด้วย radar จนพบ หลุมอุกกาบาต และสันหลุมวางตัวเป็นวงกลมและมี mascon อยู่ภายในพอดิบพอดี

 

มหาทวีป Gondwana ทวีปใหญ่ทางตอนใต้ของโลก เมื่อ 250 ล้านปีก่อน อุกกาบาตที่ตก ณ

ขั้วโลกใต้ ( Antartica) อาจผลักให้แผ่นทวีป Astralia แยกออกไปทางเหนือ

Credit: http://www.scotese.com/

 

การสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อยุคเพอร์เมียนและยุคไทรแอสสิค ( Permian-Triassic extinction) ริบเอาชีวิตไปจากแผ่นดินและมหาสมุทร นักวิจัยคาดว่าเหตุครั้งนั้นเกิดจากอุกกาบาต แต่บางคนเชื่อว่าเกิดจากการประทุของอุกกาบาต อย่างไรก็ตามภัยพิบัติครั้งนั้นได้ช่วยเปิดทางให้ไดโนเสาร์ครองโลกในภายหลังจนกระทั่ง อุกกาบาตที่ตกลง ณ คาบสมุทรยูคาทาน เมื่อ 65 ล้านปีก่อนทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไป ครั้งนั้นก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาต Chicxulub ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 9.6 กิโลเมตร

เพื่อยืนยันว่ามันเป็นหลุมอุกกาบาตที่เกิดขึ้นเมื่อ 250 ล้านปีก่อนจริง นักวิจัยจำเป็นต้องเก็บเอาตัวอย่างหินจากหลุมดังกล่าวเพื่อศึกษาโครงสร้างของหินว่าเกิดจากการกระแทกครั้งใหญ่จากนอกโลกหรือไม่อย่างไร

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

##################

 

 

ถึงขอบอาณาเขตอิทธิพลสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์

Voyager 2 Detects Odd Shape of Solar System's Edge

June 2 nd, 2006

ที่มาwww.space.com

Voyager 2 กำลังเดินทางไปถึงขอบนอกของระบบสุริยะ ณ บริเวณที่เรียกว่า “termination shock” ภายในปีหน้า

ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นหลักไมล์สำคัญ นับจากหลักไมล์ที่แล้วซึ่งยาน Voyager 1 ทำสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว กำหนดการดังกล่าวมาถึงเร็วกว่าที่คาดไว้ซึ่งแสดงว่าขอบเขตของอาณาบริเวณที่บรรจุอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำซึ่งถูกสร้างจากลมสุริยะทางด้านใต้ ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าทางด้านเหนือนับหลายพันล้านกิโลเมตร นั่นคืออาณาเขตดังกล่าวไม่ได้มีรูปร่างเป็นทรงกลมอย่างที่เคยคาด แต่กลับมีรูปร่างผิดปกติโดยโป่งทางด้านเหนือและยุบทางด้านใต้

 

สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์แผ่อิทธิพลออกไปไกลพร้อมทั้งปล่อยลมสุริยะออกไปประทะกับกระแสอนุภาค

ระหว่างดาวฤกษ์ (Interstellar wind) แนวปะทะดังกล่าวทำให้เกิดหมอกก๊าซบางๆ ที่เรียกว่า ( Termination Shock)

ห่อระบบสุริยะเอาไว้ Credit : NASA/JPL

 

 

นักวิทยาศาสตร์กำหนดว่ายาน Voyager 1 จะเข้าสู่บริเวณ termination shock เมื่อตรวจพบว่าอนุภาคมีประจุเริ่มเคลื่อนกลับไปหาดวงอาทิตย์ เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อ Voyager 1 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 85 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ( 85 AU) ส่วน Voyager 2 ตรวจวัดได้เมื่อห่างจากดวงอาทิตย์ 76 AU “ ข้อมูลนี้บอกเราว่าขอบเขตที่ยาน Voyager 2 ไปพบ ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าของ Voyager 1” Ed Stone นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ Voyager จากสถาบันแห่งเทคโนโลยีคาลิฟอร์เนีย ( Caltech) ในพาซาเดนา อธิบาย

 

นอกเหนือจากยาน Voyager 1 และ 2 ยังมียาน Pioneer 1, 10 ที่เดินทางไปสู่ขอบนอกของระบบสุริยะเช่นกัน

Credit:NASA/JPL

 

การเคลื่อนที่ย้อนกลับของอนุภาคมีประจุ เป็นเพราะเส้นแรงแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ถูกหักออกไปตามแนวปะทะของลมสุริยะกับลมดาวฤกษ์ ( interstellar wind) หรือสนามแม่เหล็กระหว่างดาว ( interstellar magnetic field) อนุภาคซึ่งโดยปกติมักลอยเลื่อนไปตามเส้นแรงแม่เหล็กก็จะตามสนามแม่เหล็กไปด้วยนั่นเอง

นักวิจัยคิดว่าการที่บรรยากาศชั้น heliosphere ไม่สมมาตรอาจเป็นเพราะทางด้านใต้ความเข้มสนามแม่เหล็กอ่อนกว่าทางด้านเหนือ หรือประมาณหนึ่งในพันส่วนของสนามแม่เหล็กที่ผิวโลก เพียงแต่ขยายตัวออกไปไกลกว่า

 

แนวการเดินทางของยาน Voyager ทั้งสองลำ เริ่มจากระนาบที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์จากนั้น

Voyager 1 เลี้ยวขึ้นด้านบนของระนาบ ส่วน voyager 2 เลี้ยงลงด้านล่างของระนาบ

Credit: NASA/Walt Feimer

 

ยาน Voyager ทั้งสองลำขึ้นสู่อวกาศ ณ สถานีปล่อยของกองทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล โดยปล่อยยาน Voyager 2 ในวันที่ 20 สิงหาคม 2520 และยาน Voyager 1 ในวันที่ 5 กันยายน ปีเดียวกัน ขณะนี้ยาน Voyager 1 ห่างจากดวงอาทิตย์ 14.64 พันล้านกิโลเมตร และท่องอวกาศด้วยอัตราเร็ว 3.6 AU ต่อปี ส่วน Voyager 2 ห่างจากดวงอาทิตย์ 11.75 พันล้านกิโลเมตร มีอัตราเร็ว 3.3 AU ต่อปี

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

&&&&&&&&&&&&&&&&

 

พายุยักษ์ลูกใหม่บนดาวพฤหัสบดี กำลังเคลื่อนเข้าใกล้พายุยักษ์ลูกเก่า ( ตอนที่ 2)

Hubble Zooms In on Jupiter's New Red Spot

June 2 nd, 2006

ที่มาwww.skyandtelescope.com

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีพายุขนาดเท่าๆ กับจุดแดงใหญ่เกิดขึ้นในซีกเหนือของดาวพฤหัสบดี สำหรับสีแดงของ Red Spot Jr. สามารถบ่งชี้ว่ามันเข้มขึ้นตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง จากการตรวจสอบโดยทีมวิจัยของ Simon-Miller พวกเขาวัดแกนยาวของ Oval BA ได้ 13,480 กิโลเมตร ส่วน จุดแดงใหญ่ วัดได้ 20,740 กิโลเมตร ซึ่งสามารถใช้คาดคะเนได้ว่าเมื่อใดจุดพายุดังกล่าวจะใหญ่ขึ้นหรือหดเล็กลงด้วยการสังเกตสีแดง

 

Jupiter

ด้วยกล้องฮับเบิล ภาพถ่ายสีเพี้ยนของดาวพฤหัสบดี เมื่อวันที่ 16 เมษายน ในช่วงรังสีอินฟราเรดและแสงสีน้ำเงิน -

ฟ้า แสดง Red Spot Jr. และ Great Red Spot เมฆสีส้มปรากฎในชั้นบรรยากาศด้านบนบริเวณศูนย์สูตรดาวบนจุดแดง

ทั้งสองและบริเวณขั้วใต้ของดาว

Credit: NASA, ESA, I. de Pater and M. Wong ( Univ. of California , Berkeley ).

 

ทีมของ de Pater กับ Marcus ร่วมมือกับ Christopher Go นักถ่ายภาพดาวเคราะห์มือสมัครเล่นจาก เมือง Cebu ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นสมาชิกของสมาคมดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ( Astronomical League of the Philippines) Go เป็นผู้ค้นพบการเปลี่ยนสีของจุด Red Spot Jr. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เขาแจ้งไปยังนักถ่ายภาพดาราศาสตร์ทั่วโลกผ่านทาง สมาคมผู้สังเกตการณ์ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (Association of Lunar and Planetary Observers) แผนกดาวพฤหัสบดี จากนั้นจัดทำเวบไซต์พิเศษสำหรับรวบรวมภาพถ่ายของ Red Spot Jr.

Christopher Go

Christopher Go นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ชาวฟิลิปปินส์ ณ ระเบียงบ้านในเมือง Cebu เขาใช้กล้องโทรทรรศน์ชนิด

Schmidt-Cassegrain Celestron C11 บนฐาน Astro-Physics AP900GTO และกล้องถ่ายภาพซีซีดีแบบบันทึกวิดีโดได้ DMK21BF04 Go

ยกความดีให้สภาพอากาศที่ดี ณตำแหน่งที่เขาอยู่ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 575 กิโลเมตร

Credit: Christopher Go

 

 

“ ผมตื่นเต้นมากเมื่อได้ทำงานร่วมกับ Chris” de Pater ชื่นชม “ ผมรู้สึกดีที่ได้เชิญเขามา เขาช่วยเราไว้มากทีเดียว ” ทางด้าน Go “ มันน่าตื่นเต้นทังหมดเลย ผมไม่เคยฝันมาก่อนว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ”

ด้วยสภาพท้องฟ้าที่ดี ทั้งจุดแดงใหญ่และจุดแดงน้อย จะสามารถมองเห็นผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วเป็นอย่างต่ำ และเมื่อทราบว่าจุดแดงใหญ่ผ่านแนวเส้นกลางดาวพฤหัสบดีเมื่อมองผ่านกล้อง ในเวลาใด จุดแดงเล็ก ก็จะมาถึงตำแหน่งนั้นในอีกประมาณหนึ่งชั่วโมง

 

Oval BA กับ Great Red Spot เคยเคลื่อนผ่านกันมาก่อน ทว่าครั้งนั้น Oval BA ยังเล็กอยู่

แต่ตอนนี้ขนาดของมันใหญ่ขึ้นมาก นั่นหมายความว่าการเคลื่อนผ่านในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้

พวกมันอาจรบกวนกันและกันไม่มากก็น้อย

Credit: http://www.ehu.es/iopw/Jupiter_images/ 2002 _images/jr 02 _BA_GRS.jpg

 

 

ขณะที่จุดแดงน้อย ลอยเลื่อนอย่างช้าๆ ไปทางตะวันออก ส่วนจุดแดงใหญ่ก็จะไปทางตะวันตก พายุทั้งสองจะเคลื่อนผ่านกันและกัน ในช่วงวันที่ 10 กรกฎาคม จากการคำนวณของ Hans-Jorg แห่ง JUPOS the Database for Object Positions on Jupiter แต่ทว่าจุดทั้งสองไม่ได้เคลื่อนที่อย่างมีแบบแผนนัก ดังนั้นวันที่พวกมันเคลื่อนผ่านกันจริงๆ อาจคลาดเคลื่อนได้ไม่กี่วัน

“ เราไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก ” de Pater อธิบาย “ เจ้าจุดเล็กอาจจะถูกฉีกเป็นชิ้นๆ หรือว่าถูกกลืนเข้าไปในเจ้าตัวโต แล้วโตขึ้นไปอีก หรือไม่ก็เคลื่อนผ่านกันไปทางใครก็ทางมัน ” “ เท่าที่เราสามารถคาดคะเนได้ เราคิดว่าส่วนนอกของจุดทั้งสองอาจมีอันตรกิริยาต่อกัน แต่นอกเหนือจากนี้ยังยากจะคาดเดา ” เราเองก็คงต้องเฝ้ารอปรากฏการณ์นี้ด้วยใจระทึก

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

&&&&&&&&&&&&&&&&

 

พายุยักษ์ลูกใหม่บนดาวพฤหัสบดี กำลังเคลื่อนเข้าใกล้พายุยักษ์ลูกเก่า ( ตอนที่ 1)

Hubble Zooms In on Jupiter's New Red Spot

June 2 nd, 2006

ที่มาwww.skyandtelescope.com

เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วทีมนักดาราศาสตร์สองทีมใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เพื่อถ่ายภาพพายุลูกใหม่ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าโลกบนดาวพฤหัสบดี ที่เรียกว่า “Red Spot Jr.” หรือ Oval BA โดยหวังว่าจะได้ภาพที่คมชัดขึ้น Oval BA ปรากฏเด่นชั้นขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพร้อมทั้งเปลี่ยนสีจากขาวเป็นส้ม-แดง แต่ตอนนี้มันกำลังเปลี่ยนสีจนใกล้เคียงกับจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot:GRS) ซึ่งเป็นพายุบนดาวพฤหัสบดีอันเป็นที่รู้จักกันดี

 

Jupiter

เมื่อรวมภาพถ่ายในช่วงสีแดง เขียวและน้ำ้เงิน เมื่อวันที่ 25 เมษายน แสดงรายละเอียดของพายุทั้งสองรวมทั้งสภาพรอบนอกที่ปั่นป่วน

Credit: NASA, ESA, I. de Pater and M. Wong ( Univ. of California , Berkeley )

 

ทีมวิจัยทีมแรกนำโดย Amy Simon-Miller (NASA/Goddard Space Flight Center) ใช้กล้องความละเอียดสูง (ACS) เพื่อจับภาพ Red Spot Jr. ในช่วงคลื่นรังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด เมื่อวันที่ 8 เมษายน กลุ่มที่สองนำโดย Imke de Pater และ Philip Marcus ( ทั้งสองมาจาก Un iversity of California , Berkeley ) สังเกตการณ์ด้วย ACS ในช่วงคลื่นแสงที่ตามนุษย์มองเห็นและรังสีอินฟราเรด ในวันที่ 16 24 และ 25 เมษายน

ภาพถ่ายจากกล้องฮับเบิล ให้รายละเอียดและความคมชัดใกล้เคียงกับภาพถ่ายจากยาน Voyager ซึ่งบินผ่านดาวพฤหัสบดีแล้วถ่ายไว้เมื่อปี 2522 แสดงโครงสร้างเมฆหมุนวน ภายในและรอบๆ จุดดังกล่าว รวมถึงแสงจากพายุที่เรียกว่า collar ซึ่งมีร่องรอยเด่นชันภายใน Red Spot Jr. แต่มืดคล้ำกว่าสำหรับ Great Red Spot สารประกอบหลายชนิดของซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส ไฮโดรเจน และคาร์บอน อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสีของ Great Red Spot แต่นี่เป็นผลสังเกตการณ์จากสเปคตรัมของแสงจากดาวพฤหัสบดี

หนึ่งในทฤษฎีที่เป็นที่สนใจในการอธิบายสีของจุดแดงใหญ่ก็คือ phosphine (PH3) ซึ่งเป็นสารพิษ สามารถติดไฟได้ และไร้สี ก๊าซนี้ถูกดันขึ้นมาจากชั้นบรรยากาศ Jovian ซึ่งอยู่ลึกลงไป สารดังกล่าวจะแตกตัวเมื่อได้รับพลังงานจากแสงอัลตราไวโอเลตของดวงอาทิตย์ ปฏิกิริยาเคมีจะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นฟอสฟอรัสแดง (P4)

 

Jupiter

Red Spot Jr เมื่อถ่ายผ่านช่วงแสงสีน้ำเงินและแดง มี collar รอบๆ พายุ

Credit: NASA, ESA, and A. Simon-Miller (NASA/GSFC).

 

Red Spot Jr. วางตัวอยู่ในแถบเมฆทางซีกใต้ เคลื่อนตามหลังจุดแดงใหญ่ ประมาณหนึ่งชั่วโมง และคาดว่าจะเคลื่อนผ่านกันและกันภายในเดือนกรกฎาคมปีนี้ นับแต่พายุเหล่านั้นก่อตัวในปี 2541 – 2543 แต่เป็นพายุสีขาวขนาดเล็กๆ สามลูก BC DE และ FA จากนั้นชนแล้วหลอมรวมเป็น Oval BA ซึ่งการรวมตัวลักษณะนี้ทำให้เกิด จุดแดงใหญ่ ซึ่งใหญ่กว่า Red Spot Jr. สองเท่าโดยประมาณ

จุดแดงใหญ่เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในระบบสุริยะ จากข้อมูลของยานอวกาศกาลิเลโอ เมื่อปี 2540 Simon-Miller วัดอัตราเร็วสูงสุดของพายุจุดแดงใหญ่ได้ 650 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วน Oval BC (ก่อนรวมตัวกัน) วัดได้สูงสุด 430 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

Great Red Spot เป็นพายุทางซีกใต้ของดาวพฤหัสบดี ทิศทางพายุทวนเข็มนาฬิกา

ซึ่งตรงข้ามกับพายุทางซีกใต้ของโลกที่มีทิศตามเข็มนาฬิกา

Credit:http://www.physast.uga.edu/~jss/1010/ch12/12-09.jpg

 

ชั้นบรรยากาศบนโลกมีความหนาแน่นต่ำ ดังนั้นพายุที่ซีกโลกเหนือจะมีทิศทวนเข็มนาฬิกา ส่วนพายุในซีกโลกใต้จะมีทิศตามเข็มนาฬิกา ทว่าบนดาวพฤหัสบดีซึ่งความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศสูงมาก ทิศทางของพายุที่เกิดขึ้นจะสลับทิศกับภายในระบบความหนาแน่นต่ำอย่างโลก

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

&&&&&&&&&&&&&&&&

 

 

 

 

home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles& presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs]

[glossary] [links] [contact us] [academic activities]