กลุ่มวิจัยฟิสิกส์อวกาศและอนุภาคพลังงานสูง

ความเป็นมา

กลุ่มวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศและอนุภาคพลังงานสูงได้เริ่มต้นขึ้น ในปี พ.ศ. 2534 โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.เดวิด รูฟโฟโล เพื่อทำการสอนและทำงานวิจัยสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในด้านการขนส่งและการเร่งอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ที่ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และต่อมาได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มวิจัยและทำงานวิจัยทางด้านอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ รวมถึงการสร้างนักวิจัยในระดับปริญญาโท-เอก และหลังปริญญาเอก (Post-Doctoral Research)  ในระยะเวลาต่อมา กลุ่มวิจัยได้รับการ recognition มากขึ้น ทั้งภายในมหาวิทยาลัยภายในประเทศ ไปจนถึงระดับนานาชาติ  ในปี พ.ศ. 2538 กลุ่มวิจัยได้รับพื้นที่จากภาควิชาฯ ในการตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในการวิจัยด้าน Computational Astrophysics  ทำให้กลุ่มงานมีการขยายงานจนเป็นหนึ่งในกลุ่มวิจัยที่มีผลงานดีเด่นใน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และเป็นหนึ่งในกลุ่มวิจัยทางฟิสิกส์ในประเทศไทยที่มีผลงานที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารนานาชาติมากที่สุด

ผลงาน

 -    งานวิจัยเกี่ยวกับรังสีคอสมิก โดยแบ่งเป็นสายงานต่างๆ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลของอนุภาคพลังงานสูงที่มาจากดวงอาทิตย์ ศึกษาการเร่งอนุภาคที่คลื่นกระแทก ศึกษาลักษณะของสนามแม่เหล็กภายใต้การปั่นป่วนของลมสุริยะ และผลต่อการขนส่งของอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

-    บทความ ผลงานวิจัย ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ เช่น Astrophysical Journal, Journal of Geophysical Research เป็นต้น ซึ่งได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวนมาก

Group Photos

X'MAS  2000

click at the picture for full size (53.0 kB)

 

X'MAS  2001

click at the picture for full size (157.0 kB)

 

X'MAS  2002

click at the picture for full size (438.0 kB)

 

X'MAS  2003

click at the picture for full size (965.0 kB)

 

X'MAS  2004

click at the picture for full size (1,350 kB)

 

X'MAS  2005

click at the picture for full size (1,373 kB)

 

X'MAS  2006

click at the picture for full size (1,373 kB)

 

X'MAS  2007

click at the picture for full size (1,373 kB)

 





X'MAS  2008

click at the picture for full size (1,342 kB)

 

 

 

 

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us]