ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 เดือนพฤศจิกายน 2547  

 

Deep Impact probe to collide with comet

เครื่องวัด Deep Impact ปะทะกับดาวหาง

November 5, 2004

 

เครื่องวัด Impactor ถูกออกแบบในเข้าชนด้านที่ถูกแสงอาทิตย์ของดาวหาง

                                นักดาราศาสตร์มหาวิทยาลัย Maryland วางแผนที่จะนำเครื่องมือขนาดเท่าเก้าอี้เพื่อเข้าชนดาวหาง Tempel 1 เพื่อตรวจดูว่าภายในเป็นอะไรและจะเป็นประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าสำหรับนักวิทยาศาสตร์ในการวางแผนว่าจะป้องกันก้อนหินจากอวกาศเหล่านี้ที่เกิดจากการปะทะกับโลกได้อย่างไร

                        ยานอวกาศ Deep Impact ของนาซ่า ซึ่งจะถูกส่งในวันที่ 30 ธันวาคม มีกำหนดการปล่อยเครื่องวัดหนัก 820 ปอนด์ (370 กิโลกรัม) ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2005 โดยมันจะปะทะกับดาวหางที่ความเร็ว 23,800 ไมล์ต่อชั่วโมง (10.2 กิโลเมตรต่อวินาที)

                        การปะทะกันจะเกิดขึ้นที่ประมาณ 80 ล้านไมล์ (130 ล้านกิโลเมตร) ห่างจากโลก ขณะที่ตัวดาวหางเองมีความสว่างน้อยกว่าที่ตาเปล่าจะเห็นได้ประมาณ 100 เท่า อย่างไรก็ตามหัวหน้าโครงการกล่าวว่า เราสามารถเห็นองค์ประกอบที่ฟุ้งกระจายขึ้นจากการปะทะได้ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดเล็ก

                        เรากำลังจะกระแทกมันและดูว่าเกิดอะไรขึ้น Michael A'Hearn นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจากแมรี่แลนด์ที่นอกเมืองวอชิงตันกล่าวสรุป

                        ยานดาวเทียม Stardust ของนาซ่า นำรูปถ่ายของนิวเคลียสของดาวหาง Wild 2 ในการบินเข้าไปใกล้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ Deep Impact จะระเบิดหลุมในใจกลางของดาวหางเพื่อดูว่ามันมีอะไรข้างใน

                        การที่รู้ว่ามีอะไรอยู่ใน Tempel 1 สามารถช่วยในภารกิจภายหลังเกี่ยวกับการเปลี่ยนทิศทางของดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยในอวกาศที่มีทิศทางที่สามารถเข้าชนโลกได้ ซึ่งการชนแต่ละครั้งอาจเป็นสาเหตุของความเสียหายที่ก่อหายนะ นักวิทยาศาสตร์ยังคงทำงานเพื่อระบุระดับความน่ากลัวของดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง ที่ถูกเรียกว่าวัตถุใกล้โลกอีกด้วย ซึ่งมันมีความสามารถที่จะชนกับโลกของเรา

ที่มา: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/10/21/space.impact.reut/index.html 

.............................................................................................................................................................

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดจากพายุสุริยะ

(geomagnetic storm)

November 11, 2004

 

		ออโรร่าถูกเห็นข้ามยุโรปไกลลงไปทางใต้ถึงกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ส่วนในสหรัฐอเมริกาไกลถึง เวอร์จิเนีย (Virginia), 
เทนเนสซี (Tennessee) และมิสซูรี (Missouri) ในคืนวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2547 
		โชคร้ายที่ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ไม่นานทางตอนใต้ของออสเตรเลีย หรือทางตอนเหนือของนิวซีแลนด์ แต่น่าจะมีออโรร่า
เกิดขึ้นเหนือ แทสมาเนีย (Tasmainia) และตอนใต้ของนิวซีแลนด์

.............................................................................................................................................................

 
 
พลังปริศนาช่วยขับเคลื่อนยานมาร์โรเวอร์
(Mystery power boost for Mars rover)
 

November 11, 2004

                        ยานมาร์โรเวอร์ยังคงแล่นอยู่หลังจากผ่านช่วงชีวิตที่คาดไว้ นักวิทยาศาสตร์ยินดีกับความลึกลับนี้ ถึงเหตุผลข้อหนึ่งที่ยานกลับมามีพลังงานเมื่อเร็วๆ นี้

                        ยาน Opportunity เพิ่งพบประสบการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ เกี่ยวกับการที่พลังงานเพิ่มขึ้น “เหตุการณ์การทำความสะอาด” Jim Erickson ผู้จัดการโครงการโรเวอร์ที่ NASA's Jet Propulsion Laboratory in Pasadena กล่าว

                        “ตอนนี้เราคาดว่าพวกเขาได้รับการทำความสะอาด แต่พวกเราสามารถพูดได้ว่า ตลอดคืนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานระหว่าง 2-5 เปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้น” เขาพูด “เราทายว่าเหตุผลคือละอองฝุ่นเคลื่อนย้ายจากเซลล์แสงอาทิตย์และมันเพิ่มสมรรถภาพในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า

                        ทีมงานของยานโรเวอร์มีการถกเถียงถึงทฤษฎีต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถสรุปหาเหตุผลได้

                        “ทฤษฎีที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือมีพายุฝุ่นเกิดขึ้นระหว่างทางที่ยานโรเวอร์ ฝุ่นพวกนี้ได้พัดผ่านผิวของมันและทำความสะอาดผิวของมันนิดหน่อย”

                        ยาน Opportunity และคู่แฝดของมัน ยาน Spirit ได้ร่อนลงไปในคนละด้านของดาวอังคารในเดือนมกราคม แต่พวกมันก็ยังคงทำงานได้หลังจากผ่านฤดูหนาวอันเลวร้ายของดาวอังคาร ซึ่งเป็นการตัดพลังงานทั้งหมดที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์

                        ยานสองได้ค้นพบหลักฐานทางธรณีวิทยา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีน้ำในอดีตบนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ และพวกมันกำลังติดต่อเพื่อส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับมา

                        ที่มา: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/11/05/marsrovers.power.ap/index.html

 

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]