ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 เดือนตุลาคม 2548  

 

 

หลุมดำที่ล้อมรอบด้วยดาวฤกษ์อายุน้อยในดาราจักรแอนโดรมีดา

Andromeda’s Black Hole Surround by Young Stars

 

October 12th, 2005

 

ที่ม  :      www.skyandtelescope.com  

Stardust Eyes in The City of Angel รายงาน

 

                ไม่เป็นความลับอีกต่อไปสำหรับหลุมดำมวลยวดยิ่ง (Supermassive black hole)  ณ ใจกลางดาราจักร แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่ามีเพียงหลุมดำสองแห่งเท่านั้นที่สามารถระบุตำแหน่งได้  ต้องขอบคุณดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่ทำให้เราทราบตำแหน่งหลุมดำอันดับสาม

 

ดาราจักรแอนโดรมีดา ห่างจากโลก 2.5 ล้านปีแสง  มีหลุมดำมวล 140 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ที่ล้อมรอบด้วยดาวฤกษ์วัยรุ่นร้อยๆ ห่างออกไป ครึ่งปีแสง Credits John Kormendy (University of Texas at Austin) / Ralf Bender (University Observatory, Munich, Germany) 

                ดาราจักรแอนโดรมีดา (M31) เป็นดาราจักรที่เชื่อกันว่าเป็นแหล่งชุมนุมของหลุมดำ  ที่ใจกลางของมันมีการแผ่รังสีเอ็กซ์จากจานฝุ่นที่หมุนวนรอบศูนย์กลาง  นอกจากนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานักดาราศาสตร์ต่างเพ่งระบุตำแหน่งแสงสีน้ำเงินลึกลับที่ใกล้ๆ แกนกลางของแอนโดรมีดาอีกด้วย     และเมื่อใช้กล้องสเปคโตรกราฟที่ติดตั้งบนกล้องฮับเบิลก็พบว่าแท้จริงแสงสีน้ำเงินนั้นคือแสงเรืองจากดาวฤกษ์ร้อนๆ อายุน้อย กว่า 400 ดวง ที่ห่างจากศูนย์กลางไม่น้อยกว่าครึ่งปีแสง  และหมุนวนรอบแกนกลางจนมีรูปร่างคล้ายแผ่นจานกลม     อันเป็นหลักฐานสำคัญบ่งชี้ตำแหน่งของหลุมดำที่ใจกลางของแอนโดรมีดา  และหลุมดำนั้นมีมวลเป็น 140 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์  ทีมนักวิจัยนำโดย Ralph Bender จากสถาบัน Max Planck สหพันธรัฐเยอรมัน และลูกทีม  ทำการวัดความเร็วรอบศูนย์ของดาวฤกษ์ จากการวัดหา Redshift และ Blueshift ในเส้นสเปคตรัมของแสงดาว  พบว่าพวกมันมีความเร็วเฉลี่ย 1,000 กิโลเมตรต่อวินาที รอบศูนย์กลางที่ดำมืด ดังนั้นมันจึงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากหลุมดำ  

               

               

ภาพรังสีเอ็กซ์(ซ้ายมือ) และแสงที่ตามองเห็น(ขวา)  ของดาราจักรแอนโดรมีดา  ภาพรังสีเอ็กซ์แสดงหลุมดำมวลยวดยิ่งที่ใจกลาง (สีฟ้า)
(Credit: X-ray: NASA/CXC/SAO; Optical: M.Garcia, S.Murray, Palomar Sky Survey)
 

                ทว่ายังมีแนวคิดอื่นที่อธิบายว่าแท้จริงใจกลางของจานฝุ่นนี้เป็นการรวมตัวของซากดาวอย่างเช่น ดาวนิวตรอน  ดาวแคระน้ำตาล  เป็นกระจุกดาวมืด (Dark Cluster)  ล้อมรอบด้วยวงแหวนดาวฤกษ์ร้อนที่วางตัวห่างจากศูนย์กลางเท่ากับกลุ่มเมฆออร์ตของระบบสุริยะ  แนวคิด กระจุกดาวมืดนี้ยังอาจใช้กับกรณีของ NGC4258 และ ดาราจักรทางช้างเผือกของเราได้ด้วย

 

ดาราจักรแอนโดรมีดาในช่วงแสงที่ตามนุษย์มองเห็น  และดาราจักรข้างเคียง M32 และ M110 ซึ่งเป็นดาราจักรแคระทรงรี  http://canopy.lmsal.com/schryver/Public/homepage/coolstarimages.html

                 ขณะเดียวกันนักดาราศาสตร์ก็ยังไม่อาจอธิบายการมีอยู่ของวงแหวนดาวฤกษ์น้ำเงินรอบๆ หลุมดำได้    แนวคิดที่ว่าดาวฤกษ์มวลมากเกิดจากอันตรกิริยาเมื่อ 200 ล้านก่อน แต่ทฤษฎีปัจจุบันบอกว่าเป็นไปไม่ได้  เนื่องเพราะแรงไทดัลจากจากหลุมดำจะฉีกกระชากดาวฤกษ์เหล่านั้นออกเป็นเสี่ยงๆ   นี่จึงเป็นปริศนาที่รอคอยการไขกันต่อไป  

 

 

แปลโดย  วัชราวุฒิ  หน่อแก้ว  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

.................................................................

 

 

ดวงจันทร์บริวารของว่าที่ดาวเคราะห์ดวงที่ 10

 Scientists Discover 10th Planet’s Moon

 

October 12th, 2005

 

ที่ม  :      www.space.com

Stardust Eyes in The City of Angel รายงาน

 

                ทีมนักดาราศาสตร์ซึ่งค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สิบ ซึ่งเป็นเทหวัตถุขนาดใหญ่กว่าพลูโตพื้นผิวเป็นหินและน้ำแข็ง ภายในแถบคุยเปอร์  พร้อมทั้งระบุชื่อเล่นชั่วคราวว่า Xena ตามชื่อตัวละครนำเรื่องในละครโทรทัศน์เรื่อง Xena : Warrior Princess (ซีน่า เจ้าหญิงนักรบ) เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ประกาศการค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ใหม่นี้   โดยเรียกชื่อชั่วคราวว่า Gabrielle  ตามชื่อคนสนิทผู้ซื่อสัตย์ของ Xena

 

ภาพจำลองดาวเคราะห์ดวงที่สิบ ที่ถูกประการการค้นพบเมื่อ  29 กรกฎาคม 2548 โดย Mike Brown แห่ง Caltech  โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลัง  Credit: NASA/JPL/Caltech

 

                ขณะที่กำลังวัตถุที่คาดว่าจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบที่ฮาวาย โดยกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ที่หอสังเกตการณ์ W.M Keck  เมื่อเดือนที่แล้ว  ทีมนักดาราศาสตร์นำโดย  Michael Brown จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งคาลิฟอร์เนีย (Caltech) พบวัตถุอับแสงกำลังเคลื่อนที่ใกล้ๆ วัตถุท้องฟ้าดังกล่าว  ซึ่งการที่มันเคลื่อนที่แสดงว่ามันเป็นดวงจันทร์บริวารมิใช่ดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง(ซึ่งมีการเคลื่อนที่ปรากฏบนระนาบท้องฟ้าน้อยมากเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์)   การค้นพบดวงจันทร์ครั้งนี้มีความสำคัญเนื่องจากมันจะช่วยในการประมาณมวลของดาวเคราะห์ดวงใหม่ได้

 

Xena : Warrior Princess (คนจูงม้า) กับ Gabrielle  ซึ่งถูกนำชื่อมาตั้งให้ดาวเคราะห์ดวงที่สิบกับดวงจันทร์ไว้ชั่วคราว  http://www.thexenascrolls.homestead.com/files/wendy_-_xena___gabrielle.jpg

 

                เมื่อทราบระยะห่างและตำแหน่งที่เวลาใดๆ ของดวงจันทร์บริวาร โดยวิเคราะห์จากภาพถ่ายก็สามารถคำนวณมวลของ Xena และยิ่งดวงจันทร์โคจรเร็วเท่าใดก็แสดงว่ามวลของดาวเคราะห์หลักมากเท่านั้น    แต่ทว่าการค้นพบดวงจันทร์ดูเหมือนว่าไม่สามารถยุติข้อปัญหาที่ว่า นิยามของดาวเคราะห์คืออะไร ทั้งขนาดมาตรฐานและมวลที่ควรจะถือวัตถุนั้นว่าเป็นดาวเคราะห์  การมีอยู่ของดวงจันทร์บริวารไม่ได้รับประกันว่า Xena เป็นดาวเคราะห์   เพราะดาวเคราะห์วงในอย่างดาวพุธและดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีดวงจันทร์บริวาร  ด้าน Brown เองก็กล่าวว่าเขาคาดไว้แล้วว่าควรจะพบดวงจันทร์ของ Xena เพราะวัตถุหลายชิ้นในแถบคุยเปอร์ก็มีดวงจันทร์บริวารอยู่แล้ว

                ดวงจันทร์ที่พึ่งค้นพบนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 155 ไมล์ มีความสว่างต่ำกว่า Xena  60 เท่า นับว่าเป็นวัตถุที่ไกลโลกที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยระยะ 9 พันล้านไมล์จากดวงอาทิตย์ คิดเป็นสามเท่าของระยะห่างปัจจุบันของพลูโตกับดวงอาทิตย์

 

;

วัตถุในแถบคุยเปอร์เป็นเทหวัตถุฟากฟ้า  ที่คาดว่าหลงเหลือจากช่วงกำเนิดดวงอาทิตย์   http://www.space.com/php/multimedia/imagedisplay/img_display.php?pic=031201_neptune_exp_02.jpg

 

                นักวิทยาศาสตร์คาดว่าดวงจันทร์ Gabrielle เกิดขึ้นเมื่อวัตถุในแถบคุยเปอร์ชนกับ คล้ายๆกับการเกิดดวงจันทร์ของโลก เมื่อวัตถุขนาดเท่าดาวอังคารพุ่งชนโลกมวลสารบางส่วนผสมกับโลกและมวลสารบางส่วนก็กระจายไปในอวกาศแล้วรวมตัวกันใหม่เป็นดวงจันทร์

                ดวงจันทร์ดวงนี้ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 10 กันยายน นักดาราศาสตร์คาดว่าจะศึกษาองค์ประกอบของดวงจันทร์โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในเดือนพฤศจิกายน  Brown มีแผนจะส่งรายงานการค้นพบดวงจันทร์ในวารสาร Astrophysical Journal ในสัปดาห์นี้  ด้านสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union) กำลังตัดสินใจว่าจะใช้ชื่อตามที่ผู้ค้นพบตั้งชื่อชั่วคราวเอาไว้ นั่นคือ Xena  กับ Gabrielle

 

แปลโดย  วัชราวุฒิ  หน่อแก้ว  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

 

..............................................................

 

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]