การจำแนกการปะทุของดวงอาทิตย์ตามลักษณะของรังสีเอ็กซ์

(หรือการจัดลำดับขนาดการปะทุของดวงอาทิตย์)

         

              การปะทุของดวงอาทิตย์เกิดจากการระเบิดของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมพลังงานจำนวนมากจากการพันกันของสนามแม่เหล็ก (โดยมากจะอยู่เหนือจุดมืดบนดวงอาทิตย์) ถูกปลดปล่อยออกมาทันทีทันใด การประทุจะปล่อยรังสีออกมา ก่อให้เกิดการฉายแสงออกมานอกสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จากคลื่นวิทยุ เป็นรังสีเอ็กซ์ และ รังสีแกมมา

              นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกการประทุของดวงอาทิตย์ โดยใช้รังสีเอ็กซ์เป็นเกณฑ์ โดยที่รังสีเอ็กซ์มีความสว่างที่ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 1 - 8 อังสตรอม

              X Class Flare  เป็นรังสีขนาดใหญ่  ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดคลื่นวิทยุทั่วดาวเคราะห์และเป็นพายุรังสีที่ระยะเวลายาวนานที่สุด

            M Class Flare  เป็นรังสีขนาดกลาง โดยทั่วไปจะเป็นคลื่นวิทยุขนาดสั้น ซึ่งเป็นต้นเหตุที่มีผลกระทบต่อขั้วโลกเหนือ พายุรังสีขนาดเล็กมันจะเกิดจากการประทุระดับ M นี้ เปรียบเทียบกันระหว่าง X และ M

              C Class Flare   เป็นคลื่นรังสีขนาดเล็ก เป็นคลื่นที่มีผลกระทบต่อโลกน้อยมาก

 

 

 

          รูปด้านล่างนี้แสดงสถิติที่แสดงให้เห็นการประทุของดวงอาทิตย์ โดยดาวเทียม NOAA ..

ในเดือนกรกฎาคม 2000

 

 

 

 

          ในการลำดับขั้นรังสีเอ็กซ์ สามารถแบ่งได้อีก 9 ลักษณะ C1 - C9 M1 - M9 และ X1 - X9 ในภาพข้างบนจะแสดงให้เห็นการประทุ (จากซ้ายไปขวา) X2 M5 X6 และ X6นี้เองที่ก่อให้เกิดการเกิดพายุรังสีรอบโลกโดยที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ Bastille Day

            

 

Class

 

Peak (W/m2)

between 1 and 8 Angstroms

 

B  I < 10-6
C 10-6 < = I < 10-5
M 10-5 < = I < 10-4
X I > = 10-4

 

ข้อมูลจาก www.spaceweather.com

 

 

 

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]