ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 เดือนกันยายน 2547  

 

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใหญ่

Tiny Telescope Finds Big Planet

                        จนกระทั่งขณะนี้ ดาวเคราะห์ที่รู้จักรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นทั้ง 125 ดวง ถูกค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่พร้อมด้วยอุปกรณ์วัดที่ทันสมัย แต่ทีมงานระหว่างประเทศได้พิสูจน์วงโคจรของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ห่างไกลโดยใช้อุปกรณ์ที่ค่อนข้างธรรมดาและกล้องโทรทรรศน์ขนาดเพียง 4 นิ้ว แท้ที่จริงหัวหน้าร่วมของทีม Timothy Brown (National Center for Atmospheric Research สหรัฐอเมริกา) ประกอบและจูน (fine tune) กล้องโทรทรรศน์ในโรงเก็บรถที่บ้านของเขาในมลรัฐโคโลราโด

                        “ผมเป็นนักสร้างกล้องโทรทรรศน์สมัครเล่นมานาน” Brown กล่าว “ผมไม่สามารถหาชิ้นส่วนที่ผมต้องการในราคาที่ยอมรับได้ ดังนั้นผมจึงสร้างด้วยตนเอง”

                        “ระบบของเราประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ของนักดาราศาสตร์สมัครเล่น” David Charbonneau (Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics) ซึ่งเป็นหัวหน้าร่วมของทีมอีกคน กล่าวเพิ่มเติม

                        สิ่งที่ค้นพบใหม่เป็นที่รู้จักเสมือนกับดาวพฤหัสแต่ร้อนกว่า (hot Jupiter) คงเป็นกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่โคจรด้วยระยะทาง 2-3 ล้านกิโลเมตรจากดาวแม่ ที่มีดาวเคราะห์เผยให้เห็นได้ด้วยแสงสว่างของดาวฤกษ์ GSC 02652-01324 ลดลงเล็กน้อยซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใดที่ดาวเคราะห์ข้ามตรงระหว่างดาวฤกษ์กับโลก (คล้ายกับเหตุการณ์ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547) การค้นพบนี้นำมาสู่ยุคใหม่ที่กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กได้ทำการสำรวจพื้นที่กว้างเพื่อหาดาวเคราะห์ใหม่ที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์อื่น

                       

                        นักศิลปะวาดให้เห็นถึงการค้นพบใหม่ของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ คือดาวเคราะห์ TrES-1 (ขวา)

และดาวฤกษ์แม่ของมัน (ซ้าย) เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ TrES-1 จึงมีความร้อนประมาณ

850 องศาเซลเซียส ๖ (Courtesy Jeffrey Hall and Lowell Observatory)

 

กล้องโทรทรรศน์ STARE มีเลนส์ขนาดเพียง 4 นิ้ว แต่ทำให้เกิดการค้นพบที่สำคัญ คือ ดาวเคราะห์ที่เคลื่อน

ที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงอื่น (Courtesy Timothy Brown)

                        ดาวเคราะห์ทำให้ความสว่างของดาวลดลงโดยแมกนิจูด 0.023 ในการเคลื่อนที่ผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ ซึ่งใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการข้ามผ่าน ทำให้ทราบว่า ดาวเคราะห์ใหม่จะต้องมีขนาดใหญ่กว่า 8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพฤหัส ดาวเคราะห์ใหม่จึงมีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 0.75 กรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นจำนวนความหนาแน่นที่น้อยกว่าดาวพฤหัสซึ่งมีความหนาแน่นถึง 1.33 แต่มีความหนาแน่นมากกว่าดาวเสาร์ซึ่งมีความหนาแน่น 0.70 ความหนาแน่นของดาวเคราะห์ใกล้เคียงกับที่ทำนายทางทฤษฎีสำหรับดาวเคราะห์กลุ่มแก๊สยักษ์ใดๆ ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์แม่ที่ร้อนจัด

                        ทีมสำรวจ TrES-1 สมัครจองเวลาของกล้องโทรทรรศน์ในอวกาศ Hubble Space Telescope เพื่อค้นหาการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นเฉพาะของธาตุและโมเลกุลต่างๆ รวมทั้งไอน้ำ ขณะที่แสงดาวส่องผ่านชั้นบรรยากาศรอบนอกของดาวเคราะห์ในระหว่างการเคลื่อนที่ผ่านหน้า ทีมงานยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากบริเวณในท้องฟ้าอีก 8 บริเวณ ที่คาดว่าจะเห็นดาวเคราะห์เพิ่มเติมในการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ “ผมมองในแง่ดีว่าเราคงจะพบมากกว่านี้” Brown พูด

ที่มา: http://skyandtelescope.com/printable/news/article_1333.asp

 

 

ยานเจเนซิสพุ่งชนโลก

Genesis capsule crashes in desert

                        เมื่อวันที่ 8 กันยายน ยานอวกาศเจเนซิสพุ่งชนพื้นดินในทะเลทราย มลรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา หลังจากที่ร่มชูชีพไม่เปิด ยานเกิดความผิดพลาดขึ้นกลางอากาศจากการที่ตั้งใจให้เปิดร่มชูชีพ ลอยลงมาช้าๆ และให้เฮลิคอปเตอร์คว้ากลางอากาศ เพื่อจะได้ไม่กระแทกกับโลกและทำลายตัวอย่างลมสุริยะ “ยานที่เก็บตัวอย่างได้รับความเสียหายอย่างมาก และแตกหักบนพื้นทะเลทราย” เจ้าหน้าที่กล่าวในรายการโทรทัศน์ขององค์กรนาซ่า เนื่องจากร่มชูชีพไม่เปิด ยานจึงพุ่งชนโลกด้วยความเร็ว 311 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (คลิกที่นี่ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับยานเจเนซิส)

 

ที่มา: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/09/08/genesis.entry.cnn/index.html

 

 

 

รอยแตกในการป้องกันตัวของโลกสามารถทำให้พายุสุริยะกระทบโลกมากขึ้น

Cracks in Earth's Defenses Let Space Storms In

                       แมกนิโตสเฟียร์ (magnetosphere) ของโลกเทียบเสมือนการป้องกันตัวทางธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากพายุสุริยะ แต่ผลงานวิจัยใหม่แสดงว่า บ่อยครั้งพายุสุริยะจะส่งแรงกระแทกจนเกิด “รอยแตก” ขนาดใหญ่ในแมกนิโตสเฟียร์  ซึ่งเปิดเป็นเวลาหลายชั่วโมงและปล่อยให้พายุไหลเข้ามาสู่โลก

                       การค้นพบนี้ น่าจะช่วยในการพยากรณ์สภาพอวกาศห้ดีขึ้น โดยจะได้ทำนายเกี่ยวกับผลกระทบอันร้ายแรงของพายุสุริยะที่ปะทะกับโลก(คลิกที่นี่เพื่อดู ผลงานในประเทศไทย เกี่ยวกับการทำนายเวลาที่พายุมาถึงโลก)พายุเหล่าเป็นการคุกคามต่อดาวเทียมที่แนวขอบของบรรยากาศและระบบไฟฟ้าที่มีอยู่บนพื้นโลก

                        Harald Frey แห่ง University of California, Berkeley เป็นหัวหน้าคณะผู้วิจัย ซึ่งได้ให้รายละเอียดไว้ในสารสาร Nature เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2546

                        สนามแม่เหล็กโลกกระจายออกจากขั้วโลกและขยายกว้างออกไปเหนือบรรยากาศโลกและออกไปไกลกว่าวงโคจรของดาวเทียมที่สูงที่สุด

                        สนามแม่เหล็กดูดกลืนพลังงานส่วนใหญ่ของพายุสุริยะที่ปะทะกับโลก กล่าวคือก้อนมวลจากดวงอาทิตย์ (Coronal Mass Ejection หรือ CME) ขนาดใหญ่บรรจุด้วยอนุภาคไอออน และอิเล็กตรอน ที่จริง ดวงอาทิตย์พ่นลมสุริยะที่มีอนุภาคเหล่านี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในบางครั้ง ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์พายุสุริยะรุนแรง สามารถยิง CME ที่มีความหนาแน่นและความเร็วสูงเป็นพิเศษ มายังโลก ก้อนมวล CME เป็นอนุภาคที่มีความรุนแรงในการทำลายมากที่สุดของพายุสุริยะ คือ การเทียบ CME กับลมสุริยะปกติ เสมือนการเทียบระหว่างพายุไต้ฝุ่นกับลมปกติที่เราเจอทุกวัน

                        CME แต่ละครั้ง มีสนามแม่เหล็กในทิศทางสนามแม่เหล็ก ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงต่อเวลา ถ้าหันไปทางทิศใต้ ตรงข้ามกับทิศเหนือของสนามแม่เหล็กโลก CME จะมีความสามารถดีกว่าในการทะลุผ่าน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทราบดีอยู่แล้ว

                        ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2504 มีนักทฤษฎีสงสัยว่าเหตุการณ์ที่มีทิศทางสนามแม่เหล็กตรงข้ามแบบนี้ อาจทำให้มีรอยแตกในแมกนิโตสเฟียร์ของโลก เนื่องจากเส้นสนามแม่เหล็กของโลกอาจมีการเปลี่ยนรูปแบบ (magnetic reconnection) เชื่อมต่อกับเส้นแรงแม่เหล็กใน CME รอยแตกถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 แต่ตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบว่า รอยแตกเกิดและหายอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอยู่เป็นเวลานาน

                        ในการสังเกตการณ์ล่าสุดนี้ ดาวเทียม Imager for Magnetopause to Aurora Global Exploration (IMAGE) สังเกตไอออนที่เข้าไปในบริเวณส่วนบนของบรรยากาศที่ขั้วโลกเหนือ มีการวิเคราะห์ว่าแสดงถึงรอยแตกกว้างใหญ่เกือบเท่ากับมลรัฐแคลิฟอร์เนีย (หรือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทย)

                        ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์นั้น กลุ่มดาวเทียม 4 ดวงที่เรียกว่า Cluster บินเหนือยานอวกาศ IMAGE และมุ่งตรงผ่านรอยแตก ดาวเทียม Cluster ตรวจจับไอออนของลมสุริยะที่ไหลผ่านรอยแตกที่ผ่าระบบป้องกันของโลก

                        รอยแตกนั้น ซึ่งยิ่งกว้างในระดับยิ่งสูง ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึง 9 ชั่วโมง

ที่มา:http://www.space.com/scienceastronomy/earth_defenses_031204.html

 

 

 

วงการอุตสาหกรรมทัวร์อวกาศพนันความฝัน

Space tourist industry bets on a dream

จรวด SpaceShipOne พุ่งตรงไปในอวกาศในเที่ยวบินทดสอบ ก่อนที่จะแข่งขันรับรางวัล X Prize

                        คุณสามารถสร้างธุรกิจบนความฝันได้มั้ย?

                    วงการอุตสาหกรรมอวกาศดูเหมือนคิดเช่นนั้น มีการพนันกันว่าจะมีคนเข้าแถวพันพัน หรือในที่สุดถึงระดับล้านคน เพื่อความฝันของพวกเขาในการเดินทางไปในอวกาศ หรือบางสิ่งที่คล้ายกับลักษณะนี้ วิศวกรและผู้ประกอบการต่างแข่งขันกันสร้างรากฐานสำหรับความคิดนี้ด้วยการสร้างยานใหม่ การสนับสนุนทางการเงิน และแผนงานทางธุรกิจ

                    ท่าอวกาศในทะเลทรายและโรงงานเต็มไปด้วยฝุ่นละออง ชิ้นส่วนจรวด และโครงสร้างเครื่องบินที่เกิดขึ้นทั่วแคลิฟอร์เนียและแคนาดา มีจำนวนสิบสิบบริษัทต่างหวังที่จะเจาะเข้าไปเพื่อทำอย่างไรถึงจะได้ธุรกิจพันล้านเหรียญสหรัฐที่อาจเกิดขึ้น

                    ผู้แข่งขันเหล่านี้แสดงความสามารถอันน่าประทับใจอย่างยิ่งในปีนี้

                     ยาน SpaceShipOne คือยานอวกาศลำแรกของภาคเอกชนที่บรรทุกมนุษย์ด้วย พุ่งขึ้นไปในอวกาศ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน จากสนามบินในทะเลทราย Mojave มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ยานลำนี้ออกแบบโดย Burt Rutan แห่งบริษัท Scaled Composites ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้นำในการเตรียมจัดเที่ยวบินในอวกาศตามวงโคจรย่อย สำหรับนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกับบริษัทอื่น เช่น SpaceX Falcon และ X-Cor Aerospace

                    สำหรับผู้ที่ไม่มีใบขับขี่เครื่องบิน บริษัท Zero G เสนอราคา 3,000 เหรียญ สำหรับเที่ยวบินตามโค้งพาราโบลาด้วยยานโบอิ้ง 727 ที่จำลองสภาพไร้น้ำหนัก บริษัทนักท่องเที่ยวอวกาศชื่อ Space Adventures ได้ทำการสำรองเที่ยวบินสำหรับวงโคจรย่อยในอนาคตด้วยราคา 100,000 เหรียญต่อครั้ง โดยมีผู้สนใจจองไว้แล้วเป็นร้อยคน

                    สิ่งที่ทำให้ปีนี้เป็นปีสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวในอวกาศ คือรางวัล Ansari X Prize เงินรางวัลถึง 10 ล้านเหรียญ ให้กับเที่ยวบินอวกาศพลเรือน ซึ่งสามารถชนะในเดือนตุลาคม ส่วนยาน SpaceShipOne จะพยายามมีเที่ยวบินในอวกาศ 2 ครั้งภายในวันพุธที่ 29 กันยายน และ 4 ตุลาคม ตามเงื่อนไขของ Ansari X Prize ที่จะต้องขึ้นถึงอวกาศ 2 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์ โดยสามารถบรรทุกได้ 3 คน

บริษัท Space Adventure กล่าวว่า มีมากถึง 12 คนที่ปรารถนาจะจ่ายเงิน 20 ล้านเหรียญ ในการไปเยี่ยมสถานีอวกาศนานาชาติ บริษัทนี้สร้างรายได้ระดับล้านดอลลาร์ในการจัดเที่ยวบินในเครื่องบิน MiG ของประเทศรัสเซีย ในเครื่องฝึกซ้อมที่มีแรงขับจากศูนย์กลางและการฝึกซ้อมเป็นนักบินอวกาศ

GLuke Dittrich floats in air during a Zero G flight.

 

 ภาพวาดของยานอวกาศที่เข้าชิงรางวัล Ansari X Prize ที่เรียกว่า The da Vinci Project

ที่มา: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/09/24/space.tourism.cnn/index.html

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]