ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 เดือนธันวาคม 2547  

มนุษย์ในอวกาศเสียภูมิต้านทาน

Spaceflight May Decrease Human Immunity

December 16, 2004

                    องค์กรนาซ่าศึกษาพบว่าความสามารถของร่างกายมนุษย์ต่อสู้กับเชื้อโรคอาจมีภูมิต้านทานลดลงจากการบินไปสู่อวกาศ ผลกระทบนี้อาจยังมีต่อ หลังจากนักบินอวกาศเดินทางกลับสู่โลกแล้ว ถ้าอยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน

                    นอกเหนือจากประสบการณ์การเดินทางในอวกาศ ความกดดันก่อนเดินทางและหลังจากกลับมาอาจมีบทบาทในการลดภูมิต้านทานเช่นกัน

                    ผลจากการศึกษานี้ ได้ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ใน “Brain, Behavior, and Immunity” ผลงานนี้อาจจะช่วยนักวิจัยเข้าใจดีขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบจากการเดินทางในอวกาศต่อภูมิต้านทานของมนุษย์ และอาจจะช่วยในการปรับปรุงสุขภาพ ความปลอดภัย และผลงานของนักบินอวกาศที่สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) และนักบินอวกาศในอนาคตขณะปฏิบัติภารกิจระยะยาว

                    จำนวนเซลเม็ดเลือดขาวชี้ให้เห็นถึงร่องรอยของการปรากฏโรค มีเซลเม็ดเลือดขาว 5 ชนิดหลักที่ทำงานร่วมกันในการป้องกันร่างกายด้วยการต่อสู้กับการอักเสบและการต้านทานสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ชนิดเซลเม็ดเลือดขาวที่มีมากที่สุดเรียกว่านิวโทรฟิล (neutrophils)

                    จากปี 2542 ถึง 2545 นักวิทยาศาสตร์จากองค์กรนาซ่า บริษัท Enterprise Advisory Service, Inc. แห่งฮุสตัน และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอสตัน ได้เปรียบเทียบการทำงานของนิวโทรฟิล ในนักบินอวกาศ 25 คน เขาทำการเปรียบเทียบหลังจากภารกิจ 5 วัน ของ Space Shuttle และหลังจากภารกิจ 9 ถึง 11 วัน

                    คณะผู้วิจัยพบว่าจำนวนของนิวโทรฟิลเพิ่มขึ้น 85% เมื่อกลับมาสู่โลก โดยเทียบกับระดับก่อนการเดินทาง  กลุ่มคนที่ภาคพื้นดินที่ไม่ได้เดินทาง (control group) มีการเพิ่มอย่างมากเพียง 2% เท่านั้น นักวิจัยยังค้นพบว่า การทำงานของเซลเหล่านี้ โดยเฉพาะหน้าที่การทำลายจุลินทรีย์จากนอกร่างกาย ถูกกระทบโดยปัจจัยเกี่ยวกับการเดินทางในอวกาศ และมีผลกระทบมากขึ้นเมื่อมีภารกิจในอวกาศที่นานขึ้น

                    การเพิ่มขึ้นของจำนวนนิวโทรฟิลในนักบินอวกาศเป็นผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน (มากกว่า 50%) ในจำนวนเซลเม็ดเลือดขาวทั้งหมดหลังกลับมาสู่โลก การเพิ่มขึ้นนี้สอดคล้องกับผลจากความตึงเครียดของร่างกาย

                    Duane Pierson ผู้นำของคณะผู้วิจัย ยืนยันหนักแน่นว่า “ไม่มีนักบินอวกาศในการศึกษาครั้บนี้ที่เป็นโรค อย่างไรก็ตาม ภารกิจสำรวจยาวนานขึ้นอาจส่งผลทำให้ภูมิต้านทานลดลงซึ่งจะสำคัญทางการแพทย์”

                    “ความเข้าใจที่ดีขึ้นของผลกระทบของความกดดันต่อภูมิต้านทานจะช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับเชื้อโรคติดต่อสำหรับนักบินอวกาศที่สถานีอวกาศ และนักบินอวกาศในอนาคตที่ปฏิบัติภารกิจที่ยาวนาน” Pierson กล่าว

                    ที่มา: http://spaceresearch.nasa.gov/

.............................................................................................................................................................

 

รายระเอียดของพายุสนามแม่เหล็ก วันที่ 7 พฤศจิกายน 2547

More detail about a geomagnetic storm

December 16, 2004

                    มีพายุแม่เหล็กที่รุนแรง (ดรรชนี Kp = 8-9 โดย 9 เป็นระดับสูงสุด) ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2547 เวลา 21:00 น. (UT) เหตุการณ์นี้เกิดจากคลื่นกระแทก (shock) ในลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งถูกบันทึกได้โดยยานอวกาศ ACE ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2547 เวลา 17:59 น. (UT) ความเร็วของลมสุริยะพุ่งถึง 650 กิโลเมตรต่อวินาที ไม่เพียงเท่านั้น สนามแม่เหล็กระหว่างดาวเคราะห์มีทิศทางไปทางใต้ ใน 2 ขั้นตอน: Bz (สนามแม่เหล็กในทิศ z) =-20 nT (นาโนเทสลา) ที่เวลา 19:30 น. (UT) และ 22:30 น. (UT) ด้วยคลื่นกระแทกขนาดเล็กทั้ง 2 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2547 เวลา 02:22 น. (UT) และ 10:22 น.(UT) ความยุ่งเหยิงเกิดเนื่องจากพายุสุริยะชนิด halo CME (CME ทรงกลด) หลายครั้งที่ถูกปล่อยในบริเวณกัมมันต์ NOAA696 เมื่อวันที่ 4 และ 5 พฤศจิกายน 2547

                    เหตุการณ์ทำให้เกิดแสงเหนือแสงใต้ที่น่าประทับใจ ตามที่เรารายงานมาแล้ว

ที่มา:             ที่มา: http://spaceeresearch.nasa.gov

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]