ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 เดือนตุลาคม 2547  

 

ยานอวกาศเอกชน SpaceShipOne ชนะรางวัล X Prize

ยานเอกชนขึ้นไปสู่อวกาศสองครั้งภายใน 5 วัน

(SpaceShipOne captures X Prize)

 

 

                    เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ยาน SpaceShipOne ประสบความสำเร็จสูงสุดกับเที่ยวบินน่าอัศจรรย์ ด้วยระดับความสูงถึง 377,591 ฟุต (115 กม.) ชนะรางวัล Anasri X Prize ได้รับเงินรางวัล 10 ล้านดอลล่าร์ ในวันจันทร์ที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่รางวัล X Prize กล่าวว่า เที่ยวบินนี้สร้างสถิติใหม่ โดยแซงความสูงของเครื่องบินทหาร X-15 ซึ่งบันทึกที่ระดับความสูง 354,200 ฟุต (108 กม.) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2506

 

                    ยานอวกาศประกอบด้วยเครื่องยนต์ที่แข็งแรงมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงพลศาสตร์ของอากาศล้อมรอบ (aerodynamics) ตั้งแต่เที่ยวบินแรกที่ขึ้นไปในอวกาศ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน

                    ในวันนั้น Mike Melvill เป็นนักบินของพันธกิจแรกที่ SpaceShipOne ขึ้นไปในอวกาศใกล้โลก ด้วยการบินไปให้สูงถึง 62 ไมล์ (100 กม.) ตามกำหนดพอดี เพื่อผ่านเขตของอวกาศตามมาตรฐานนานาชาติ แรงเฉือนจากลมและระบบควบคุมติดขัดทำให้ยานออกจากเส้นทางที่กำหนดประมาณ 20 ไมล์ (32 ก.ม.) แต่ยานก็สามารถกลับมาและลงจอดอย่างนิ่มนวล นับเป็นเที่ยวบินเพียงครั้งที่สี่ของยาน SpaceShipOne ที่ใช้เครื่องยนต์จรวดนี้

                    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (วันที่ 29 ก.ย.) ยาน SpaceShipOne พุ่งไปสูงถึง 337,569 ฟุต (103 กม.) อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ยานอวกาศเอกชนขึ้นไป มีการหมุนรอบตัวเอง 29 ครั้ง กว่า Melvill จะควบคุมได้โดยหยุดการยิ่งจรวด 11 วินาทีก่อนกำหนด

                    แรงผลักจากจรวดของยาน SpaceShipOne มาจากเทคนิดใหม่ โดยใช้สสาร 2 ชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติปกติ แต่เมื่อผสมเข้าด้วยกันจะเกิดการระเบิด คือ ไนโตรเจนออกไซด์และยาง (nitrous oxide and rubber)

                    ในเรื่องการท่องเที่ยวในอวกาศ Richard Branson ประธานของสายการบิน Virgin Atlantic (และสถานีวิทยุ “Virgin” ในประเทศไทย) ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่แล้วว่า จะลงทุน 25 ล้านดอลล่าร์ ในธุรกิจท่องเที่ยวในอวกาศ ซึ่งจะเรียกว่า Virgin Galactic โครงการนี้จะซื้อสิทธิในการใช้เทคโนโลยีของยาน SpaceShipOne จากบริษัทที่สร้างยานนี้ (บริษัท Scaled Composites) เพื่อจัดเที่ยวบินโคจรย่อย โดยเริ่มที่ราคาประมาณ 200,000 ดอลล่าร์ต่อเที่ยว หรือประมาณ 8 ล้านบาทต่อเที่ยว

                    Branson คาดว่าจะพาคนไปท่องเที่ยวในอวกาศใกล้โลกถึง 3,000 คน ภายในเวลา 5 ปี

                    “พัฒนาการนี้จะทำให้ทุกประเทศในโลกมีคนที่ขึ้นไปในอวกาศ ไม่ใช่เฉพาะประเทศที่ร่ำรวย” เขากล่าว

ที่มา: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/10/04/spaceshipone.attempt.cnn/index.html

 

ภาพถ่ายแรกของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ดวงอื่น

The First Exoplanet Image?

                        ภาพถ่ายด้วยกล้องอินฟราเรด ที่แยก 2M 1207 เป็นสองวัตถุที่ใกล้ๆ กัน ดาวดวงใหญ่มีความสว่าง 100 เท่าของดาวดวงเล็ก นักดาราศาสตร์สรุปว่าสองดวงนี้มีมวล 25 และ 5 เท่าของมวลดาวพฤหัส ดังนั้นจึงจำแนกเป็น “แคระน้ำตาล” และ “ดาวเคราะห์” ตามลำดับ ทั้งคู่ส่องแสงเนื่องจากความร้อน ซึ่งหลงเหลือจากการกำเนิด  ภาพนี้ถ่ายด้วยหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ VLT ขนาด 8.2 เมตร ซึ่งใช้เทคนิคปรับเลนส์เพื่อคำนึงถึงความปั่นป่วนในบรรยากาศ (adaptive optics) และรังสีอินฟราเรดช่วง L, K และ H (ที่ความยาวคลื่น 3.8, 2.2 และ 1.6 ไมครอน) แสดงในภาพเป็นสีแดง เขียว และ น้ำเงิน ตามลำดับ (Courtesy Goel Chauvin/ESO)

                        เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 นักดาราศาสตร์เปิดเผยภาพถ่ายที่อาจเป็นภาพแรกของดาวเคราะห์รอบดาวดวงอื่น (ก่อนหน้านี้ มีแต่หลักฐานทางอ้อม เนื่องจากผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของดวงแม่) ถ้าได้รับการยืนยัน นอกจากนี้ อาจเป็นครั้งแรกที่สังเกตวัตถุที่มีมวลเหมือนดาวเคราะห์และโคจรรอบแคระน้ำตาล (brown dwarf หรือ “failed star”) แทนที่จะโคจรรอบดาวฤกษ์

                        เมื่อปลายเดือนเมษายน ทีมที่นำโดย Gael Chauvin (สังกัด European Southern Observatory หรือ ESO) ได้ใช้หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์สะท้อน Very Large Telescope (VLT) ขนาด 8.2 เมตร ประเทศชีลี ที่ใหญ่มากที่ได้รับการปรับเปลี่ยนเลนส์เป็น 8.2 เมตร (VLT) ส่องแสงสะท้อนในประเทศชิลี โดยใช้เทคนิคปรับเลนส์เพื่อคำนึงถึงความปั่นป่วนในบรรยากาศ (adaptive optics) เพื่อสร้างภาพที่คมชัดเป็นพิเศษในรังสีอินฟราเรด แสดงแคระน้ำตาลที่มีความสว่างน้อยมาก ตามเส้นขอบระหว่างกลุมดาว Hydra และ Centaurus  แคระน้ำตาลดวงนี้ชื่อ 2MASS WJ1207334-393254 (หรือเรียกโดยย่อเป็น 2M 1207) ซึ่งบันทึกไว้หลายปีที่แล้วโดยโครงการ 2MASS การสำรวจท้องฟ้าด้วยรังสีอินฟราเรด แต่ภาพใหม่นี้ แสดงวัตถุที่สองที่มีเพียงหนึ่งในร้อยของความสว่างของแคระน้ำตาลนั้น ระยะห่างในท้องฟ้าเพียง 0.78 ฟิลิปตา (arcseconds) ในทิศตะวันออกเฉียงใต้

                        สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือมวลของวัตถุเล็ก ซึ่งสามารถคำนวณได้เนื่องจากดาวทั้งสองดวงดูเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม TW Hydrae Association (ดู Sky & Telescope: June 2000, หน้า 22) จึงทราบระยะทางจากเรา คือ 230 ปีแสง จากการสังเกตความสว่างและอุณหภูมิของวัตถุทั้งสอง พร้อมด้วยระยะทาง เราสามารถคำนวณความสว่างที่แท้จริง ดาวทั้งหมดของ TW Hydrae Association กำเนิดมาประมาณ 8 ล้านปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์จึงสามารถเปรียบเทียบความสว่างและอุณหภูมิของทั้งสองวัตถุกับแบบจำลองของการเย็นลงในเวลา 8 ล้านปี ที่ทำไว้สำหรับมวลต่างๆ

                        ผลลัพธ์คือ วัตถุทั้งสองมีมวล 25 และ 5 เท่าของมวงดาวพฤหัส ซี่งทำให้ตีความว่า วัตถุเล็กคือดาวเคราะห์ และวัตถุใหญ่คือแคระน้ำตาล [การแบ่งระหว่างดาวเคราะห์กับแคระน้ำตาล โดยปกติกำหนดที่มวล 13 เท่าของมวลดาวพฤหัส เพราะว่า ถ้ามีมวลน้อยกว่านี้ แม้กระทั่งดิวทีเรียม (deuterium หรือ isotope หนักของธาตุไฮโดรเจน) ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยา fusion ได้ เพื่อสร้างความร้อนภายในแกนกลางของวัตถุ จึงเรียกว่าดาวเคราะห์ โดยดาวเคราะห์ถือเป็นวัตถุที่ไม่มีพลังงานเกิดจากปฏิกิริยา fusion และดาวฤกษ์ เช่นดวงอาทิตย์ มีพลังงานเช่นนั้น]

                        จากระยะห่างระหว่างสองวัตถุบนท้องฟ้า ระยะทางที่แท้จริงคำนวณเป็น 55 หน่วยดาราศาสตร์ (1 หน่วยดาราศาสตร์นิยามเป็นระยะทางระหว่างดาวอาทิตย์กับโลก คือ 150 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งมากกว่าระยะทางของดาวพลูโทจากดวงอาทิตย์ รอบหนึ่งในการโคจรคงต้องใช้เวลาพันๆ ปี “เพียงที่อาจจะเป็นภาพแรกของระบบสุริยะระบบอื่น ก็น่าตื่นเต้นมาก” กล่าวโดยสมาชิกของทีม Christophe Dumas (ESO)

                        ที่จริง ภาพนี้ไม่ได้มีเพียงสองวัตถุเท่านั้น Michael F. Sterzik (ESO) และผู้ร่วมงานรายงานว่าแคระน้ำตาบนี้ (เช่นเดียวกับแคระน้ำตาลอายุน้อยอีกหลายดวง) แสดงถึงส่วนเกินของรังสีอินฟราเรดที่บอกถึงฝุ่นที่อยู่รอบๆ ซึ่งโคจรรอบดวงอย่างใกล้ชิดมาก

                        เคยมีภาพถ่ายก่อนหน้านี้ ซึ่งเจ้าของภาพคิดว่าแสดงดาวเคราะห์ แต่ประกฎว่าเป็นแค่ดาวฤกษ์ห่างไกลในฉากหลัง ซึ่งเราบังเอิญเห็นใกล้กันในท้องฟ้าตามเส้นทางการมองเห็นของเรา “สิ่งที่แตกต่างเกี่ยวกับวัตถุนี้ เป็นการยืนยันจากการวัดสเปกตรัม (spectrum)” กล่าวโดย Ray Jayawardhana (มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา)  การวัดสเปกตรัม (การแยกสีจากดวงนี้) บอกถึงไอน้ำ ที่อยู่ในบรรยากาศของดวง แสดงว่าต้องเย็นมากเทียบกับดาวฤกษ์ (ซึ่งจะร้อนมากจนโมเลกุลแตกตัวเป็นอะตอม และอะตอมแตกตัวเป็นไอออนกับอิเล็กตรอน) จึงไม่ใช่ดาวฤกษ์ และถ้าจะให้เป็นแคระน้ำตาลในฉากหน้าหรือฉากหลัง จะมีโอกาสน้อยมากที่จะบังเอิญอยู่ในเส้นตรงทางสายตาของเรา ใกล้กันถึงขนาด 0.8 ฟิสิปตาในท้องฟ้า

                        ข้อพิสูจน์ที่แท้จริงว่าคู่นี้โคจรรอบกันละกัน จะมาจากการที่วัตถุทั้งสองเคลื่อนที่พร้อมกันในท้องฟ้าตามเส้นทางขนานกัน (“common proper motion”) Chauvin และผู้ร่วมงานของเขาคาดว่าจะวัดเส้นทางการเคลื่อนที่ได้ภายในเพียงหนึ่งถึงสองปี และพวกเขาจะพยายามวัดสเปกตรัมให้แม่นยำมากขึ้นด้วย

                        นักดาราศาสตร์ทั้งหลายแข่งขันกันที่จะได้ภาพถ่ายแรกของดาวเคราะห์รอบดาวดวงอื่น (ดูหน้าปกและบทความในนิตยสาร Sky & Telescope เดือนเมษายน) แต่ภาพดังกล่าวไม่ได้รับการยืนยันจากชุมชนนักวิทยาศาสตร์ แต่สมาชิกของทีม Benjamin Zuckerman (สังกัด UCLA) คิดว่า เนื่องจากการปรับปรุงของเครื่องมือ ใกล้ที่จะมีการค้นพบดาวเคราะห์ด้วยวิธีนี้

ที่มา:  http://skyandtelescope.com/printable/news/article_1354.asp

 

Space center to prepare solar particles for study

ศูนย์อวกาศเตรียมศึกษาอนุภาคจากดวงอาทิตย์

October 27, 2004

                        หลักฐานจากแคปซูลของยานอวกาศเจเนซิสจะต้องได้รับการกำจัดสิ่งปนเปื้อน

                        ฮูสตัน, เทสซัส (เอพี) – ตัวอย่างนับพันชิ้นจากแคปซูลของยานอวกาศเจเนซิสได้ถูกส่งมาถึงศูนย์อวกาศจอห์นสัน (Johnson Space Center) ในฮูสตัน ที่ซึ่งผู้ดูแลโครงการจะทำการรวมรวบชิ้นส่วนซึ่งสามารถเปิดเผยเงื่อนงำของจุดกำเนิดของระบบสุริยะได้แผ่นเวเฟอร์บนช่องเก็บตัวอย่างทั้ง 5 ที่แตกเป็นพัน ๆ ชิ้นเมื่อแคปซูลกระแทกพื้นโลกเมื่อเดือนที่แล้วยังสามารถเก็บรักษาตัวอย่างซึ่งเป็นอะตอมและไอออนจากลมสุริยะไว้ได้

                        อีลีน สแตนสเบอรี (Eileen Stansbery) ผู้ช่วยผุ้อำนวยการของหน่วยวิจัยวัสดุอวกาศกล่าวว่า มีภาชนะที่บรรจุชิ้นส่วนของเวเฟอร์อย่างน้อย 3,000 ชิ้น โดยบางภาชนะบรรจุเศษของเวเฟอร์มากกว่า 96 ชิ้น ซึ่งประกอบไปด้วย ซิลิกอน, ทอง บน บุษราคัมและเจอร์เมเนียมภาชนะเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในห้องนิรภัยในศูนย์อวกาศจนกว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถหาทางกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกไปได้ ท้ายที่สุดพวกมันก็จะถูกย้ายไปยังห้องที่มีความสะอาดสูง เพื่อนให้นักวิจัยศึกษาต่อไป

                        “เราได้ออกไป เก็บชิ้นส่วนของดวงอาทิตย์ นำมันกลับมา และเราได้มันมาแล้ว” สแตนสเบอรีกล่าวอะตอมที่มีประจุเป็นล้าน ๆ ชิ้น – ซึ่งสิ่งที่ได้มาทั้งหมดไม่ใหญ่ไปกว่าเม็ดเกลือสองสามเม็ด – ซึ่งถูกเก็บตั้งแต่แคปซูลถูกปล่อยไปในอวกาศตั้งแต่ปี 2001 สามารถอธิบายว่าดวงอาทิตย์มีการก่อตัวเมื่อ 4.5 พันล้านปีที่แล้วได้อย่างไร และอะไรที่ทำให้มันยังมีพลังงานอยู่

                        แผ่นเวเฟอร์จำนวน 350 แผ่นที่รวมกันเป็นแผ่นดิสก์สำหรับเก็บตัวอย่างทั้ง 5 แผ่นได้ถูกเปิดออกเพื่อเก็บตัวอย่างของลมสุริยะในระหว่างปฏิบัติการณ์ แผ่นเวเฟอร์หลายแผ่นได้แตกคล้ายกระจกเมื่อแคปซูลกระแทกพื้นด้วยความเร็วเกือบ 200 ไมล์ต่อชั่วโมง เนื่องจาดร่มชูชีพของแคปซูลไม่กางออก แผ่นดิสก์ได้พุ้ยเอาโคลนและเกลือขึ้นมาและแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ

                        สแตนสเบอรี กล่าวว่า นักวิจัยต้องพูดคุยกับประชาคมวิทยาศาสตร์เพื่อจะได้ทราบผลกระทบของเทคนิคและเทคโนโลยีในการทำความสะอาดและชะล้างสิ่งปนเปื้อน

                        “อาจต้องใช้เวลาอาจยาวนานหลายเดือนกว่าที่คาดการไว้แต่แรกในการที่เราจะสามารถนำตัวอย่างออกสู่ประชาคมวิทยาศาสตร์ได้”สแตนเบอรียังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ทีมงานกำลังการดำเนินงานอย่างเต็มที่ “มันทำให้เราต้องใช้เวลานานและยากขึ้นกว่าแผนเดิมที่เคยวางไว้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้” เธอกล่าว

                        ข่าวดีคือ ตัวอย่างไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ในขณะนี้และสามารถเก็บไว้เพื่อวิจัยได้นานนับทศวรรษ ถ้ากระบวนการเตรียมเพื่อการวิจัยจำเป็นต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้

                        ในวันหนึ่งตัวอย่างทั้งหมดจะพร้อมสำหรับนักวิจัย แสตสเบอรีหวังว่าเมื่อถึงเวลานั้น นักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างลายนิ้วมือของดวงอาทิตย์โดยการวัดไอโซโทปของออกซิเจนในลมสุริยะ

                        “ถ้าพวกเขาเรียงรอยนิ้วมือเล็ก ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยกัน มันจะให้ภาพแก่คุณว่า ระบบสุริยะสร้างขึ้นมาจากอะไร และจากตรงนั้นระบบสุริยะวิวัฒนาการมาอย่างไร ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราจะได้ข้อมูลที่ดีและสำคัญจากพวกมัน”

ที่มา: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/10/07/genesis.samples.ap/index.html

 

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]